หมากนวล ปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมปลูกเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถว

หมากนวล

ชื่ออื่นๆ : หมากนวล หมากมนิลา หมากตอนวล ปาล์มเยอรมัน

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Manila palm, Christmas palm

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Veitchia merrilli H.E. Moore

ชื่อวงศ์ : PALMAE

ลักษณะของหมากนวล

ต้น หมากนวลเป็นพรรณไม้ยืนต้นประเภทปาล์มมีทรงพุ่มขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ 5-10 เมตรการเจริญเป็นลำต้นเดี่ยว ไม่มีหน่อ ลำต้นตรงสูง ผิวลำต้นสีน้ำตาลปนเทา ลำต้นเป็นข้อปล้องเห็นได้ชัด ใบเป็นใบรวม แตกออกจากทางใบเป็นรูปขนตก เรียงกันเป็นแถวอย่างเป็นระเบียบ

ใบ ใบแคบยาว ขนาดใบมีความกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50 – 60 เซนติเมตรตัวใบมีสีเขียวเรียบเป็นมันทางใบยาวประมาณ 1-2 เมตร ลักษณะโค้งเล็กน้อยโคนทางจะเป็นกาบหุ้มลำต้นมีสีเขียว อ่อนปนขาวนวลออกดอกเป็นช่อคล้ายจั่นหมากก้านดอกมีสีขาวนวล

ดอก ดอกมีขนาดเล็กรวมกันอยู่เป็นจำนวนมาก ออกตามกาบใบ มีสีขาวอมเหลือง

ผล ผลเล็กกลมรีมีสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด ภายในผลมีเมล็ดอยู่เพียงเมล็ดเดียว

หมากนวล
หมากนวล ต้นทรงพุ่ม ใบมีสีเขียวเรียบเป็นมัน

การขยายพันธุ์ของหมากนวล

ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่หมากนวลต้องการ

ประโยชน์ของหมากนวล

ปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมปลูกเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถว ริมถนน ริมทางเดิน ในสวนสาธารณะ ปลูกริมทะเลได้

ไม้มงคล คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นหมากนวลไว้ประจำบ้านจะทำให้มีความอ่อนน้อมความมีน้ำใจเพราะหมากนวลมีการแตก ใบที่สวยงานลักษณะที่มีความนิ่มนวลอ่อนไหวนอกจากนี้ลักษณะการแตกใบของหมากนวลยังมีลักษณะที่โดดเด่นสง่านวลชวนมองนอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบหมากนวลไว้ว่าเป็นชื่อหมากชนิดหนึ่งที่ใช้รับประทานในสมัจโบราณคือหมากสงให้ในพิธี ต้อนรับแขกที่ไปมาหาสู่กัน ดังนั้นจึงแสดงถึงการมีนิสัยใจคอที่ดี มีน้ำใจงาม

ผลและดอกหมากนวล
ผลและดอกหมากนวล ผลอ่อนสีเขียว ดอกสีเหลืองนวล

สรรพคุณทางยาของหมากนวล

คุณค่าทางโภชนาการของหมากนวล

การแปรรูปของหมากนวล

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11133&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment