หมากพร้าว มะพร้าว ไม้ยืนต้นตระกูลปาล์ม

หมากพร้าว มะพร้าว

ชื่ออื่นๆ : มะพร้าว (อีสาน) ดุง (จันทบุรี) เฮ็ดดุง (เพชรบูรณ์) โพล (กาญจนบุรี) คอส่า (แม่ฮ่องสอน) พร้าว (นครศรีธรรมราช) หมากอุ๋น

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Coconut

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cocos nucifera L. var. nucifera

ชื่อวงศ์ : Palmae

ลักษณะของหมากพร้าว มะพร้าว

ต้น ไม้ยืนต้นตระกูลปาล์ม สูง 20-30 เมตร ลำต้นกลม ตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน เปลือกต้นแข็ง สีเทา ขรุขระ มีรอยแผล

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียน รูปพัดจีบ กว้าง 3.5- ซม. ยาว 80-120 ซม. โคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวแก่เป็นมัน โคนก้านใบใหญ่แผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น

ดอก ออกเป็นช่อแขนงตามซอกใบ ดอกเล็ก กลีบดอกที่ลดรูปมี 4-6 อัน ในช่อหนึ่งมีทั้งดอกเพศผู้และเพศเมีย ดอกเพศผู้อยู่ปลายช่อ ดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อดอก ไม่มีก้านดอก

ผล รูปทรงกลมหรือรี ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวพอแก่เป็นสีน้ำตาล เปลือกชั้นกลางเป็นเส้นใยนุ่ม ชั้นในแข็งเป็นกะลา ชั้นต่อไปเป็นเนื้อผลสีขาวนุ่ม ข้างในมีน้ำใส ออกผลในช่วงเดือนมีนาคม

ต้นมะพร้าว
พืชยืนต้น ใบเหมือนขนนก

การขยายพันธุ์ของหมากพร้าว มะพร้าว 

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ

ต้องการ

ประโยชน์ของหมากพร้าว มะพร้าว

ส่วนที่ใช้ :

  • เปลือกผล – ผลแก่ปอกเปลือกตากแห้งเก็บไว้ใช้
  • กะลา – ตากแห้ง หรือเผาเป็นถ่าน บดเป็นผงเก็บไว้ใช้ โดยเผากะลาให้ลุกโชน เอากะลามัง หรือกระทะเหล็กครอบไม่ให้อากาศเข้าได้ จนไฟดับหมดแล้วปล่อยไว้ให้เย็น เปิดภาชนะเหล็กที่ครอบไว้ออก จะได้ถ่านจากกะลามะพร้าว นำไปบดเป็นผง เก็บไว้ในขวดปิดสนิท เก็บไว้ใช้ และที่ก้นภาชนะเหล็กมีน้ำมันเหนียวสีน้ำตาล ขูดเก็บไว้ใช้ เป็นยาทาแก้กลากเกลื้อนได้ดี
  • เนื้อมะพร้าว – เนื้อมะพร้าว (ติดกับกะลา) มีสีขาว ใช้สด หรือหั่นฝอย ใส่น้ำเคี่ยว เอาน้ำมันมะพร้าวเก็บไว้ใช้ หรือตากแห้ง บีบและเคี่ยวเอาน้ำมันเก็บไว้ใช้ น้ำมันใหม่ๆ จะมีกลิ่นหอม น้ำมันมะพร้าวในที่อุ่นจะเหลวใส ในที่เย็นจะข้นขาวคล้ายเนยแข็ง มีกลิ่นเฉพาะตัว
  • น้ำ – น้ำมะพร้าว อ่อน และน้ำมะพร้าวแก่ใช้สด
  • ราก – ใช้สด เก็บได้ตลอดปี
  • ดอก – ใช้สด
  • เปลือกต้น – ใช้สด เก็บได้ตลอดปี
  • สารสีน้ำตาล – ที่ออกมาย้อยแข็งอยู่ใต้ใบ เก็บไว้ใช้
ผลมะพร้าว
ด้านในมะพร้าวมีน้ำ และเนื้อสีขาว

สรรพคุณทางยาของหมากพร้าว มะพร้าว 

  • เปลือกผล – รสฝาดขม สุขุม ใช้ห้ามเลือด แก้ปวด เลือดกำเดาออก โรคกระเพาะ และแก้อาเจียน
  • กะลา – แก้ปวดเอ็น ปวดกระดูก
  • ถ่านจากกะลา – รับประทานแก้ท้องเสีย และดูดสารพิษต่างๆ
  • น้ำมันที่ได้จากการเผากะลา – ใช้ทา บาดแผล และโรคผิวหนัง แก้กลาก อุดฟัน แก้ปวดฟัน
  • เนื้อมะพร้าว – รสชุ่ม สุขุม ไม่มีพิษ รับประทานบำรุงกำลัง ขับพยาธิ
  • น้ำมันจากเนื้อมะพร้าว – ใช้ทาแก้กลาก และบาดแผลที่เกิดจากความเย็นจัด หรือถูกความร้อน และใช้ผสมทาแก้โรคผิวหนังต่างๆ นอกจากที่ยังใช้เป็นอาหาร ทาแก้ผิวหนัง แห้ง แตกเป็นขุย และชนิดที่บริสุทธิ์มากๆ ใช้เป็นตัวทำลายในยาฉีดได้
  • น้ำมะพร้าว – รสชุ่ม หวานสุขุม ไม่มีพิษ แก้กระหาย ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้พิษ อาเจียนเป็นเลือด ท้องเสีย บวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ในยามจำเป็น น้ำมะพร้าวอ่อนอายุประมาณ 7 เดือน อาจใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดแก้ภาวะการเสียน้ำได้
  • ราก – รสฝาด หวาน ใช้ขับปัสสาวะ และแก้ท้องเสีย ต้มน้ำอมแก้ปากเจ็บ
  • เปลือกต้น – เผาเป็นเถ้า ใช้ทาแก้หิด และสีฟันแก้ปวดฟัน
  • สารสีน้ำตาล – ไหลออกมาแข็งตัวที่ใต้ใบ ใช้ห้ามเลือดได้ดี

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
มะพร้าวเก็บในช่วงผลแก่ และนำมาเคี่ยวเป็นน้ำมัน ทาแก้ปวดเมื่อย และขัดตามเส้นเอ็น เจือกับยาที่มีรสฝาด รักษาบาดแผลได้
ใช้น้ำมะพร้าว มาปรุงเป็นยารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกมานาน วิธีใช้ทำได้โดย การนำเอาน้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน ในภาชนะคนพร้อมๆ กับเติมน้ำปูนใส 1 ส่วน โดยเติมทีละส่วนพร้อมกับคนไปด้วย คนจนเข้ากันดี แล้วทาที่แผลบ่อยๆ

คุณค่าทางโภชนาการของหมากพร้าว มะพร้าว

การแปรรูปมะพร้าว มีทั้งในรูปแบบของอาหาร ขนม ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว-บำรุงผม โลชั่นทากันยุง ลิบบาล์ม ยาหม่อง น้ำมันนวด แผ่นมาส์คหน้าจากน้ำมะพร้าวแก่ น้ำกะทิพาสเจอร์ไรซ์ น้ำมันพืชที่ใช้ประกอบอาหารภาคครัวเรือน หรือใช้ในภาคอุตสาหกรรม ของตกแต่งบ้าน ของที่ระลึก หมวก กระเป๋า อุปกรณ์ทำความสะอาด วัสดุปลูกต้นไม้ ปุ๋ย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11583&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

12 Comments

Add a Comment