หมากม่อ สรรพคุณ เป็นยาพื้นบ้าน และปลูกเป็นไม้ประดับ

หมากม่อ

ชื่ออื่นๆ : ต้นขี้หมู หม่อ หมากหม้อ

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : หมากหม้อ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rothmannia wittii (Craib.) Bremek.

ชื่อวงศ์ : Rubiaceae

ลักษณะของหมากม่อ

ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก สูง 6-8 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมดำ กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม แตกกิ่งเป็นชั้น คล้ายกับฉัตร มีทรงพุ่มกลม โปร่ง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม เป็นคู่ ใบรูปขอบขนาน หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ใบค่อนข้างนิ่ม มีขนาดใหญ่ และเห็นเส้นแขนงใบชัดเจน หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบใกล้ปลายยอด สีขาวนวล กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง มีดอกย่อย 5-12 ดอก ดอกย่อยรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ และบานโค้งงอ โคนกลีบด้านในมีแต้มสีเขียวและแถบประสีม่วงเข้ม เมื่อบานมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก 3-5 เซนติเมตร มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลสด รูปทรงกลม ขนาด 3-4 เซนติเมตร เปลือกผลเรียบ แข็ง เนื้อผลมีรสหวานเล็กน้อย เมื่อแก่สีดำ มีเมล็ดจำนวนมาก

พบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้งและป่าละเมาะ
ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม ถึงกุมภาพันธ์

ดอกหมากหม้อ
ดอกสีขาวนวล กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง

การขยายพันธุ์ของหมากม่อ

-/-

ธาตุอาหารหลักที่หมากม่อต้องการ

ประโยชน์ของหมากม่อ

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเพราะทรงพุ่มสวยออกดอกดกและกลิ่นหอม

สรรพคุณทางยาของหมากม่อ

สรรพคุณ เป็นยาพื้นบ้าน
แก่นหรือราก ต้มน้ำดื่มแก้ไข้
ลำต้น ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มรักษากามโรค
เนื้อในผล มีสีดำแฉะเล็กน้อย เป็นลอนคล้ายขี้หมู รับประทานได้ มีรสหวาน เป็นยาแก้เจ็บคอ

คุณค่าทางโภชนาการของหมากม่อ

การแปรรูปของหมากม่อ

https://www.flickr.com/แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11720&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment