หมากหอม ผลรับประทานได้เส้นใยจากเปลือกใช้ทำเชือกหยาบ

หมากหอม

ชื่ออื่นๆ : สากกะเบือละว้า (สุโขทัย) กะปกกะปู (พิษณุโลก) หมากหอม (เหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ) หลาย (แม่ฮ่องสอน), คอมขน(ชัยภูมิ) มลาย (ชลบุรี, จันทบุรี, ตราด) น้ำลายควาย (ใต้) พลา (ยะลา,ปัตตานี, ระนอง) พลาขาว (ชุมพร) พลาลาย (ตรัง) ขี้เถา, คอมส้ม, คอม, เกลี้ยง, ข้าวจี่, ไม้ลาย, ม้าลาย

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : พลับพลา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Microcos tomentosa SM

ชื่อวงศ์ : TILIACEAE

ลักษณะของหมากหอม

ต้น  ไม้ยืนต้น หรือไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 15 เมตร เปลือกต้นสีเทา แตกล่อนเป็นสะเก็ดบางๆ เปลือกในสีชมพู มีเส้นใยเรียงตัวเป็นชั้น กิ่งอ่อนและก้านใบ มีขนรูปดาวหนาแน่น

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนาน รูปวงรีแกมไข่กลับ หรือรูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 3-10 ซม. ยาว 6.5-19 ซม. ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวหม่น ปลายแหลม โคนสอบมน หรือกลม ขอบหยักฟันเลื่อยไม่เป็นระเบียบที่ปลายใบส่วนกลางและโคนใบ ขอบเรียบ ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้นๆ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษถึงกึ่งหนาคล้ายแผ่นหนัง มีขนรูปดาว ทั้งสองด้าน ด้านล่างมีขนหนาแน่นกว่า เส้นแขนงใบ ข้างละ 4-9 เส้น มี 3 เส้น ออกจากโคนใบ เส้นใบย่อยคล้ายขั้นบันได เห็นชัดเจนที่ด้านล่าง ก้านใบยาว 6-12 มม. มีขนหนาแน่น

ดอก  ดอกช่อกระจุกแยกแขนง ออกที่ซอกใบ หรือปลายกิ่ง ยาว 3-15 ซม. ดอกตูมกลม ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลือง ก้านและแกนช่อดอก มีขนหนาแน่น ใบประดับรูปแถบ หรือรูปใบหอก ยาวได้ ถึง 1 ซม. มีขนหนาแน่น ก้านดอก ยาว 6-8 มม. มีขน เส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 4 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ แยกจากกันเป็นอิสระ รูปช้อน กว้างประมาณ 2 มม. ยาว 6-7 มม. มีขนทั้งสองด้าน กลีบดอก 5 กลีบ แยกจากกัน เป็นอิสระ รูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 0.5-1.5 มม. ยาว 1.5-3 มม. มีขนสั้น ๆ ทั้งสองด้าน โคนกลีบด้านใน มีต่อมรูปรี เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูอับเรณู โคนมีขน ปลายเกลี้ยง รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปกลม กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 2 มม. มีขนหนาแน่นมี 2-4 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 2 เม็ด

ผล  ผลรูปทรงกลมแกมไข่กลับ ผลผนังชั้นในแข็ง กว้าง 0.6-1 ซม. ยาว1-1.2 ซม. ผนังผลคล้ายแผ่นหนัง มีขน ผลแก่สีเขียว ผลสุกสีม่วงดำ

เมล็ด  เมล็ดแข็ง 1 เมล็ด ผลสุกรับประทานได้ พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง ความสูงจากระดับน้ำทะเล 50-300 เมตร ออกดอกและเป็นผล ระหว่าง เดือนเมษายนถึงตุลาคม

ใบพลับพลา
ใบเรียงสลับ รูปวงรี
ดอกพลับพลา
ดอกช่อกระจุกแยกแขนง ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง

การขยายพันธุ์ของหมากหอม

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่หมากหอมต้องการ

ประโยชน์ของหมากหอม

ผลรับประทานได้เส้นใยจากเปลือกใช้ทำเชือกหยาบๆ (จากการสัมภาษณ์และการจัดประชุมเสวนาผู้นำในชุมชน)

สรรพคุณทางยาของหมากหอม

ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ใช้

  • แก่น ผสมแก่นโมกหลวง ลำต้นกำแพงเจ็ดชั้น ลำต้นสบู่ขาว ลำต้นพลองเหมือด แก่นจำปา และลำต้นคำรอก ต้มน้ำดื่มแก้หืด
  • เปลือก ผสมปรุงเป็นยาบำรุงเลือดสตรี เปลือกให้เส้นใย ใช้ทำเชือก
  • น้ำมันยางจากเปลือก ใช้เป็นเชื้อเพลิง
  • ผลแก่ มีรสเปรี้ยว รับประทานเป็นยาระบาย กระจายเลือด

คุณค่าทางโภชนาการของหมากหอม

การแปรรูปของหมากหอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9318&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment