หมากเขียว หรือ ปาล์มหมาก เป็นไม้ประดับที่มีทรงพุ่มสวย

หมากเขียว หรือ ปาล์มหมาก

ชื่ออื่นๆ : ปาล์มหมาก  ,  หมากฝรั่ง  ,  หมากพร้าว

ต้นกำเนิด : ปาปัวนิวกินี

ชื่อสามัญ : MacArthur’s plam

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ptychosperma macarthurii (H. J. Veitch) H. Wendl. ex Hook. f.

ชื่อวงศ์ : Palmae

ลักษณะของหมากเขียว หรือ ปาล์มหมาก

ต้น  เป็นปาล์มแตกกอ สูงประมาณ 10 – 20 เซนติเมตร โดยปาล์มจะแตกกอ ลำต้นขนาด 4-8 เซนติเมตร ลำต้นเรียบสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาล ปนเทา เห็นข้อปล้องชัดเจน

ต้นหมากเขียว
ต้นหมากเขียวลำต้นเรียบสีเทาอ่อน เห็นข้อปล้องชัดเจน

ใบ ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 90-120 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบสีเขียวเข้ม

ใบหมากเขียว
ใบหมากเขียว ใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบสีเขียวเข้ม

ดอก ดอกสีเหลืองอมเขียว ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงใต้โคนกาบใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร

ดอกหมากเขียว
ดอกหมากเขียว ดอกสีเหลืองอมเขียว

ผล ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ติดผลจำนวนมาก ทรงกลมรี ขนาด 1 เซนติเมตร ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีแดง เมื่อแห้งผิวย่น

ผลหมากเขียว
ผลหมากเขียว ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีแดง

การขยายพันธุ์ของหมากเขียว หรือ ปาล์มหมาก

การเพาะเมล็ด, การแยกหน่อ

ธาตุอาหารหลักที่หมากเขียว หรือ ปาล์มหมากต้องการ

การเจริญเติบโตปานกลาง ควรปลูกในดินร่วน ระบายน้ำได้ดี อยู่ในที่โปร่งแสงรำไร หรือ แดดจัด

ประโยชน์ของหมากเขียว หรือ ปาล์มหมาก

  • ใช้เป็นไม้ประดับสร้างอาณาเขตบริเวณบ้าน เพราะมีทรงพุ่มสวย ปลูกเป็นไม้ประธานสวนหย่อม ปลูกเป็นฉาก กั้นสายตาหรือเป็นรั้ว ปลูกริมสระว่ายน้ำ ใช้ประดับในอาคารได้ดี ปลูกริมทะเลได้
  • ผลเป็นอาหารนก

สรรพคุณทางยาของหมากเขียว หรือ ปาล์มหมาก

  • ผล (เมล็ด) ใช้ขบเคี้ยว เพื่อรักษาเหงือก และฟันให้คงทน
  • ราก นำมาต้มกิน แก้ปากเปื่อย ขับปัสสาวะ และโรคบิด
  • ใบ นำมาต้มกิน เป็นยาขับพิษ นำมาทาแก้คัน

คุณค่าทางโภชนาการของหมากเขียว หรือ ปาล์มหมาก

การแปรรูปของหมากเขียว หรือ ปาล์มหมาก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11128&SystemType=BEDO
www.cholaeschool.ac.th, www.flickr.com

Add a Comment