หมากเบน ตะขบป่า สรรพคุณเป็นยาแก้ท้องเสีย บำรุงไต

หมากเบ็น

ชื่ออื่นๆ : ตะขบป่า (ภาคกลาง) ตานเสี้ยน, มะเกว๋นนก, มะเกว๋นป่า (ภาคเหนือ) บักเบน, หมากเบน (หนองคาย)

ต้นกำเนิด : พบตามป่าเต็งรัง ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้งและป่าผสมผลัดใบ ตลอดจนตามริมแม่น้ำ

ชื่อสามัญ : Governor’s plum, Indian plum

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Flacourtia indica (Burm.f.) Merr.

ชื่อวงศ์ : FLACOURTIACEAE

ลักษณะของหมากเบ็น

ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 5-10 เมตร เปลือกต้นมีหนามแหลม แข็ง ขึ้นตามต้นและกิ่ง เปลือกต้นมีสีเทาปนน้ำตาล เปลือกแตกเป็นสะเก็ดแผ่นบาง

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มักออกหนาแน่นบริเวณปลายกิ่ง ใบรูปไข่กลับ โคนใบสอบ ปลายใบมน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ผิวใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร

ดอก ดอกเป็นดอกช่อ ออกเป็นกระจุกบริเวณซอกใบหรือตากิ่ง ดอกมีสีขาว

ผล เป็นผลเดี่ยว มีลักษณะกลม ขนาดประมาณเท่านิ้วมือ ผลอ่อนสีเขียวมีรสฝาด ผลสุกสีแดงหรือแดงปนม่วง รสหวานปนฝาด ผลจะสุกประมาณเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม

ต้นหมากเบน
ต้นหมากเบน ไม้ต้นขนาดกลาง เปลือกต้นมีหนามแหลม แข็ง
ใบหมากเบน
ใบหมากเบน ใบเดี่ยว ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย

การขยายพันธุ์ของหมากเบ็น

ใช้เมล็ด/นำเมล็ดมาเพาะปลูก

ธาตุอาหารหลักที่หมากเบ็นต้องการ

ประโยชน์ของหมากเบ็น

  • ผลดิบ มีรสฝาด ใช้ตำกับผลไม้รสเปรี้ยว
  • ผลสุกรสหวาน ฝาด
ผลหมากเบน
ผลหมากเบน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงหรือแดงปนม่วง

สรรพคุณทางยาของหมากเบ็น

  • แก่นเป็นยาแก้ท้องเสีย
  • แก่นและรากต้มดื่ม
  • รากเป็นยาบำรุงไต
  • ผลนำมาใช้เป็นยาฝาดสมานได้

คุณค่าทางโภชนาการของหมากเบ็น

การแปรรูปของหมากเบ็น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12140&SystemType=BEDO
wwwsatit.msu.ac.th
www.flickr.com

Add a Comment