หมากเม่า มีรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานเป็นผลไม้สด

หมากเม่า

ชื่ออื่นๆ : หมากเม้า, บ่าเหม้า, หมากเม่า, มะเม่า, ต้นเม่า, เม่า, เม่าเสี้ยน, หมากเม่าหลวง, มะเม่าหลวง, มัดเซ

ต้นกำเนิด : เขตร้อนของเอเชีย

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antidesma puncticulatum Miq.

ชื่อวงศ์ : PHYLLANTHACEAE

ลักษณะของหมากเม่า

ต้น ไม้ยืนต้นที่มีอายุยืนยาว แตกกิ่งก้านมาก กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มทรงกลม สูงประมาณ 510 เมตร เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดถึง 4 คนโอบ และมีเนื้อไม้แข็ง

ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียวสด ผิวใบเรียบเป็นมันทั้งสองด้าน ใบออกหนาแน่นเป็นร่มเงาได้เป็นอย่างดี

ดอก ดอกมีขนาดเล็กสีขาวอมเหลือง ออกดอกเป็นช่อยาวตามปลายกิ่งและซอกใบ ช่อดอกคล้าพริกไทย ลักษณะของดอกเป็นดอกแยกเพศกันอยู่คนละต้น โดยจะออกดอกในช่วงเดือน มีนาคมถึงเดือนเมษายน 

ผล ลักษณะของผลเป็นทรงกลม ผลมีขนาดเล็กและเป็นพวง ผลดิบมีสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม มีรสเปรี้ยว แต่เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงและม่วงดาในที่สุด โดยผลสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยวและฝาด เมล็ดกรุบกรับ ในหนึ่งผลจะมีหนึ่งเมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง ผลสุกในเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน

หมากเม่า
หมากเม่า ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มทรงกลม

การขยายพันธุ์ของหมากเม่า

เพาะเมล็ด

มักขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง หรือตามหัวไร่ ปลายนาทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจังหวัดกาญจนบุรีจะมีต้นมะเม่าในป่าเป็นจานวนมาก และมะเม่ายังเป็นผลไม้ท้องถิ่นของภาคอีสาน ในเทือกเขาภูพานของจังหวัดสกลนครอีกด้วย

ธาตุอาหารหลักที่หมากเม่าต้องการ

ประโยชน์ของหมากเม่า

  1.  ผลดิบสีเขียวอ่อน ประกอบอาหารคล้ายส้มตำเม่า
  2. ผลแก่สีแดงมีรสเปรี้ยว ส่วนผลแก่จัดสีดำม่วง จะมีรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานเป็นผลไม้สด
  3. ยอดอ่อนของมะเม่าใช้รับประทานเป็นผักสดได้
  4. ผลมะเม่าสุกจะมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็งช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย และยังช่วยชะลอความแก่ชราได้อีกด้วย
ผลหมากเม่า
ผลหมากเม่า ผลดิบมีสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม ผลสุกป็นสีแดงและม่วงดา

สรรพคุณทางยาของหมากเม่า

  • ผล มีสรรพคุณเป็นยาระบายและบำรุงสายตา
  • ใบสด นำมาอังไฟเพื่อใช้ประคบแก้อาการฟกช้ำดำเขียว
  • เปลือกต้นเม่า ใช้เป็นส่วนประกอบของลูกประคบ

กัมมาลและคณะ (2546) ศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV เชื้อรา เชื้อแบคทีเรียของสมุนไพรไทย 5 ชนิด คือ มะเม่า ฟ้าทลายโจร หญ้าแห้วหมู ผักเป็ดแดง และสายน้ำผึ้ง พบว่า มะเม่า สายน้ำผึ้ง และหญ้าแห้วหมู มีศักยภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV ได้

คุณค่าทางโภชนาการของหมากเม่า

ผลหมากเม่าสุก มีกรดอะมิโน 18 ชนิด แคลเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามิน B1 B2 C และ E

การแปรรูปของหมากเม่า

1. ผลิตภัณฑ์แปรรูปเช่น น้ำผลไม้ ไวน์เม่า แยม กวน สีธรรมชาติผสมอาหาร ฯล
2. น้ำเม่าสกัดเข้มข้น 100% มีสารอาหาร วิตามินหลายชนิด ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายรวมทั้ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ
3. ไวน์หมากเม่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9793&SystemType=BEDO
www.rspg.psru.ac.th
www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment