หมากเหลือง นิยมปลูกประดับเป็นพืชที่ดูดสารพิษจากอากาศ

หมากเหลือง

ชื่ออื่นๆ :

ต้นกำเนิด : มาดากัสการ์  

ชื่อสามัญ : Yallow palm

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chrysalidocarpus lutescens H. Wendl.

ชื่อวงศ์ : PALMAE

ลักษณะของหมากเหลือง

เป็นพืชจำพวกปาล์ม  ความสูง  3.2  เมตร  ความกว้างทรงพุ่ม  1.8  เมตร  รูปร่างทรงพุ่ม ทรงกลม
ลำต้น  เป็นลำต้นเหนือดิน  ตั้งตรงได้เอง  ผิวลำต้นเรียบ  เห็นข้อปล้องชัดเจน  ต้นอ่อนสีเขียวอ่อน  ต้นแก่สีเขียวแก่  ไม่มีน้ำยาง

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่  ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวอ่อนแกมเหลือง  ขนาดแผ่นใบกว้าง  1.8 เซนติเมตร ยาว 28.5  เซนติเมตร ใบเรียบมันเรียวยาว ใบเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปแถบ ปลายใบแหลม  โคนใบรูปลิ่ม  ขอบใบเรียบ

ดอก เป็นดอกช่อแบบหางกระรอก  ออกที่ซอกใบ ดอกสีเหลืองแกมเขียวอ่อน  กลีบเลี้ยงแยกกัน จำนวน 3 กลีบสีเหลืองแกมเขียว กลีบดอกแยกกัน จำนวน 3 กลีบ
สีเหลือง เกสรตัวผู้ จำนวน 1 อัน สีขาว   เกสรตัวเมีย จำนวน 1 อัน สีขาว  รังไข่กึ่งใต้วงกลีบ  ดอกไม่มีกลิ่น  กลีบดอกติดกันรูปคนโท

ผล  ผลอ่อนสีเขียวแกมเหลือง  ผลแก่สีน้ำตาลแกมดำ  ผลรูปรี  เมล็ด มีเมล็ดจำนวน 1 เมล็ดต่อผล 

ต้นหมากเหลือง
ต้นหมากเหลือง ลำต้นตั้งตรง ต้นอ่อนสีเขียวอ่อน ต้นแก่สีเขียวแก่ ไม่มีน้ำยาง

การขยายพันธุ์ของหมากเหลือง

เพาะเมล็ดและแยกหน่อ

ธาตุอาหารหลักที่หมากเหลืองต้องการ

ชอบแดดจัด ต้องการน้ำมาก  ปลูกได้ในดินทุกชนิด  ทั้งในกระถางและลงดิน

ประโยชน์ของหมากเหลือง

ป็นไม้ประดับภายในอาคารที่เป็นที่นิยม  นิยมปลูกลงกระถาง  ทนต่อสภาพแวดล้อมภายใน อาคาร และคายความชื้นให้แก่อากาศได้เป็นจำนวนมาก  เป็นพืชที่ดูดสารพิษจากอากาศได้ในประมาณ มากที่สุดชนิดหนึ่ง

ปลูกต้นหมากไว้ประจำบ้านจะทำให้มีความอ่อนน้อมความมีน้ำใจ เพราะหมากมีการแตกใบที่สวยงามลักษณะที่มีความนิ่มนวลอ่อนไหวนอกจากนี้ลักษณะการแตกใบของหมากยังมีลักษณะที่โดดเด่นสง่านวลชวนมองนอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบหมากไว้ว่าเป็นชื่อหมากชนิดหนึ่งที่ใช้รับประทานในสมัยโบราณคือหมากสงใช้ในพิธีต้อนรับแขกที่ไปมาหาสู่กัน ดังนั้นจึงแสดงถึงการมีนิสัยใจคอที่ดี มีน้ำใจงามเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นหมากไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

ผลหมากเหลือง
ผลหมากเหลือง ผลรูปรี ผลแก่สีน้ำตาลแกมดำ

สรรพคุณทางยาของหมากเหลือง

ผลอ่อน มีรสฝาด มีสรรพคุณต่างๆ ได้แก่ ช่วยให้เจริญอาหาร,ช่วยขับเสมหะ,แก้อาการเมา วิงเวียนศรีษะ,แก้อาการคลื่นเหียน อาเจียน,ช่วยบรรเทาอาการไอ,ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ

คุณค่าทางโภชนาการของหมากเหลือง

การแปรรูปของหมากเหลือง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10252&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment