หม้อข้าวหม้อแกงลิง ต้นไม้กินแมลง นิยมปลูกประดับ

หม้อข้าวหม้อแกงลิง

ชื่ออื่นๆ : หม้อลิง (ใต้), หม้อข้าวลิง (จันทบุรี), เขนงนายพราน, ก่องข้าวลิง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : tropical pitcher plants หรือ monkey cups

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nepenthes mirabilis

ชื่อวงศ์ : NEPENTHACEAE

ลักษณะของหม้อข้าวหม้อแกงลิง

ต้น หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นไม้เลื้อย ลำต้น มักขึ้นอยู่รวมกันเป็นกอหนาแน่น หรือถ้าเป็นต้นอ่อนจะขึ้นอยู่โดดเดี่ยว ลำต้นอาจเลื่อยไปตามพื้นดิน หรือเกาะไม้พุ่มขนาดเล็ก

ใบ  ใบยาว 12-18 เซนติเมตร ปลายใบเป็นกระเปาะคล้ายเยือก ยาว 10-15 เซนติเมตร กระเปาะเมื่อยังอ่อนฝาจะปิด เมื่อกระเปาะแก่ฝาจะเปิด กระเปาะมีหลายสี เช่น สีเขียว สีน้ำตาลอมแดง และสีเขียวปนแดงเรื่อๆ ภายในกระเปาะมีขนป้องกันแมลงที่ตกเข้าไป ไม่ให้ออกได้ อีกทั้งผิวกระเปาะยังมีรูเล็กๆจำนวนมากปล่อยน้ำย่อยออกมาขังไว้ในกระเปาะ เพื่อย่อยสลายแมลงเป็นอาหาร

ดอก  ดอกออกเป็นช่อตามส่วนยอดของลำต้น ก้านช่อดอกยาว 50-100 เซนติเมตร ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกอยู่กันคนละต้น จะออกดอกระหว่างเดือนพฤศภาคม – สิงหาคม

ผล  เมื่อได้รับการผสมพันธุ์แลัวดอกเพศเมียจะกลายเป็นฝักที่มีเมล็ดเป็นจำนวนมากอยู่ภายใน

หม้อข้าวหม้อแกงลิง
หม้อข้าวหม้อแกงลิง ปลายใบเป็นกระเปาะคล้ายเยือก กระเป๋าสีเขียวปนแดง

การขยายพันธุ์ของหม้อข้าวหม้อแกงลิง

การเพาะเมล็ด ให้โรยบนสแฟกนัมมอสส์ที่เปียกชื้นหรือบนวัสดุปลูกอื่นๆที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว เช่นขุยมะพร้าว, พีทมอสส์ ฯลฯ หลังฝักแตกออกให้รีบเพาะเมล็ดเพราะอัตรางอกจะลดลงเรื่อยๆเมื่อเก็บไว้นานเข้า ส่วนผสม 50:50 ที่ใช้ในการปลูกกล้วยไม้เช่นมอสส์กับเพอร์ไลต์ เป็นส่วนผสมที่เหมาะที่สุดในการเพาะเมล็ด เมล็ดจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือนในการงอกเป็นต้นอ่อน และหลังจากนั้น 2 ปีหรือมากกว่านั้นจึงจะให้ดอก การปักชำ ให้ทำปักชำในสแฟกนัมมอสส์ ถ้าความชื้นและแสงพอเพียงต้นไม้จะงอกรากใน 1-2 เดือนและจะเริ่มให้หม้อใน 6 เดือน การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ในปัจจุบันเป็นการเพาะเลี้ยงในเชิงการค้าซึ่งได้ช่วยลดจำนวนต้นไม้ที่ถูกเก็บออกจากป่ามาขายได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ดี พืชหายากจำนวนมากยังถูกเก็บออกมาขาย เป็นเพราะราคาที่แพงของมันนั่นเอง หม้อข้าวหม้อแกงลิงถูกบรรจุในรายชื่อพืชที่ถูกคุกคาม

พืชกินแมลงได้รับความสนใจด้วยความสามารถที่แปลกประหลาด ของกระเปาะดักแมลง ทำให้มีการนำเข้าพืชกินแมลงจากต่างประเทศ และขณะเดียวกันสายพันธุ์ไทยก็มีความสวยงามไม่แพ้กันเลยทีเดียว ทำให้มีกลุ่มพ่อค้าขายต้นไม้หัวใส นิยมนำต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงจากป่ามาปลูกขายเป็นไม้ประดับโดยหวังที่จะขาย ความแปลก แต่คนที่ซื้อไปปลูก ช่วงแรกก็เกิดอาการชื่นชมในรูปร่างหน้าตาความแปลกประหลาด แต่อีกไม่นานก็ตายไป เพราะขาดความรู้ความเข้าใจและวิธีการเลี้ยงที่ถูกวิธี การปลูกต้นไม้สักต้นนั้นต้องอาศัยความรักและความเอาใจใส่ขอให้คำนึงอยู่ อย่างหนึ่งว่า ต้นไม้นั้นก็เป็นสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์ในระบบนิเวศ

ธาตุอาหารหลักที่หม้อข้าวหม้อแกงลิงต้องการ

ประโยชน์ของหม้อข้าวหม้อแกงลิง

ประโยชน์ของต้นไม้กินแมลงชนิดนี้นอกจากจะปลูกเป็นไม้ประดับ แล้ว ชาวบ้านทางภาคใต้ นิยมนำมารับประทานผักจิ้มน้ำพริก รวมถึงการนำเอาดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิงมาทำเป็น “ข้าวเหนียวหม้อแกงลิง” ลักษณะคล้ายกับข้าวต้มมัดมีข้าวเหนียวกับกะทิเป็นหลัก วิธีการทำคราวๆเริ่มจากการแช่ข้าวเหนียว แล้วนำกระเปาะหม้อแกงลิงไปล้าง นำมาเรียงไว้ในภาชนะที่ใช้นึ่ง กรอกข้าวเหนียวลงไปในกระเปาะ จากนั้นหยอดหางกะทิตามลงไป ยกขึ้นเตานึ่งกะพอข้าวเหนียวใกล้สุกดีจึงหยอดหัวกะทิที่ผสมเกลือพอเค็มนิด หน่อย นำมานึ่งอีกครั้งจนสุกดี

สรรพคุณทางยาของหม้อข้าวหม้อแกงลิง

คุณค่าทางโภชนาการของหม้อข้าวหม้อแกงลิง

การแปรรูปของหม้อข้าวหม้อแกงลิง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11135&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment