หยีทะเล เนื้อไม้ใช้ทำฟืน เสารั้ว ด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร

หยีทะเล

ชื่ออื่นๆ : กายี, ราโยด (ใต้); ปากี้ (มลายู-สงขลา); หยีทะเล

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : หยีทะเล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris indica (Lamk.) Benn.

ชื่อวงศ์ : FABACEAE  (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)

ลักษณะของหยีทะเล

เป็นไม้ต้น สูง 5–15(–20) ม. เรือนยอดค่อนข้างกลม ถึงแผ่เป็นพุ่มกว้าง ลำต้นมักคดงอและแตกกิ่งต่ำ เปลือกเรียบ สีเขียวแกมน้ำตาลเทาคล้ำ ผิวเปลือกในสีเขียว เปลือกชั้นในสีน้ำตาลอ่อนประขาว ใบ ประกอบรูปขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ก้านใบรวมแกนช่อใบยาว 10–15 ซม. ใบเรียงตรงข้ามกัน 3 คู่ และที่ปลายก้านอีก 1 ใบ แผ่นใบย่อยรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ เรียงจากเล็กไปหาใหญ่
กว้าง 3–4.5 ซม. ยาว 5–12 ซม. ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มกว่าด้านล่าง ปลายเรียวแหลม โคนสอบ เส้นแขนงใบย่อย 8–10 คู่ ดอก สีชมพู เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ผล ค่อนข้างแบน เบี้ยว รูปขอบขนาน ปลายแหลมโค้งลง กว้าง 2.5–3 ซม. ยาว 5–7.5 ซม. มี 1–2 เมล็ด หยีน้ำมีการกระจายพันธุ์ตามฝั่งแม่น้ำใกล้ทะเล และในป่าชายหาดทางภาคใต้ ในต่างประเทศพบที่อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์–เมษายน ผลแก่ประมาณ 4–5 เดือนหลังจากออกดอก เนื้อไม้ใช้ทำฟืน เสารั้ว ด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร

หยีทะเล
หยีทะเล ใบผิวเกลี้ยง ด้านบนสีเข้ม ดอกสีชมพู

การขยายพันธุ์ของหยีทะเล

ใช้ส่วนอื่นๆ/การขยายพันธุ์หยีด้วยวิธีการตัดชำกิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่และทาบกิ่งแบบต่างๆ โดยชำกิ่งลักษณะกึ่งอ่อน กึ่งแก่ มีใบติดและไม่มีใบ

ธาตุอาหารหลักที่หยีทะเลต้องการ

ประโยชน์ของหยีทะเล

เนื้อไม้ใช้ทำฟืน เสารั้ว ด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร

สรรพคุณทางยาของหยีทะเล

คุณค่าทางโภชนาการของหยีทะเล

การแปรรูปของหยีทะเล

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9591&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment