หลุมพอทะเล เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างทนทาน

หลุมพอทะเล

ชื่ออื่นๆ : ประดู่ทะเล (กลาง) งือบาลาโอ๊ะ (มลายู-นราธิวาส)

ต้นกำเนิด : อินโดแปซิฟิก

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Intsia bijuga (Colebr.) Kuntze

ชื่อวงศ์ : leguminosae-caesalpinioideae

ลักษณะของหลุมพอทะเล

ไม้ต้น สูง 20-40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูงถึงแผ่กว้าง เปลือกสีเทาแกมเหลืองถึงสีน้ำตาลเทา เรียบหรือแตกสะเก็ด เปลือกชั้นในสีชมพูถึงส้ม ผิวเปลือกสีเขียว ก้านช่อใบยาว 3-8 เซนติเมตร ใบย่อยเรียงเป็นคู่ 2 (-3) คู่ แผ่นใบย่อย เบี้ยว รูปรีถึงรูปไข่กลับ กว้าง 4-10 เซนติเมตร ยาว 5-18 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง ยกเว้นเส้นใบ ปลายมนกลมถึงหยักเว้า โคนมนถึงสอบ เส้นแขนง 5-7 คู่ ดอก สีขาว เปลี่ยนเป็นสีชมพูและแดงในเวลาต่อมา เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2-2.5 เซนติเมตร ออกเป็นช่อแยกแขนงตามง่ามใบและปลายกิ่ง ผล แบน รูปขอบขนาน ผิวเกลี้ยง กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 10-25 เซนติเมตร แตกเมื่อแห้งมี 4-8 เมล็ด เมล็ด สีน้ำตาลเข้ม รูปไข่ ปลายมนโคนตัด กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาว 2.5-3 เซนติเมตร

ต้นหลุมพอทะเล
ต้นหลุมพอทะเล ยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง เปลือกสีเทาแกมเหลืองถึงสีน้ำตาลเทา

การขยายพันธุ์ของหลุมพอทะเล

ลักษณะทางนิเวศและการกระจายพันธุ์ พบขึ้นในป่าที่ลุ่มน้ำขัง ชายแม่น้ำลำคลอง และในป่าพรุด้านใกล้ทะเล ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ของประเทศไทย ในต่างประเทศพบที่มาดากัสการ์ อินเดีย พม่า กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ตลอดไปจนถึงตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย

ดอกหลุมพอทะเล
ดอกหลุมพอทะเล ดอกสีขาว เปลี่ยนเป็นสีชมพูและแดงในเวลาต่อมา

ธาตุอาหารหลักที่หลุมพอทะเลต้องการ

ประโยชน์ของหลุมพอทะเล

เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างทนทาน

สรรพคุณทางยาของหลุมพอทะเล

กินแก้ลม จุกเสียด แน่นท้อง ยอดอ่อน ต้มผสมกับผักปีกไก่ ต้มเป็นยาหม้อดื่ม

คุณค่าทางโภชนาการของหลุมพอทะเล

การแปรรูปของหลุมพอทะเล

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9444&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment