หลุมพี ผลมีรสเปรี้ยวฝาด นำมาใช้ประกอบอาหาร

หลุมพี

ชื่ออื่นๆ : หลุมพี, ส้มพี , โลกกือพี, กะลูพี (มลายู-นราธิวาส)

ต้นกำเนิด : มักขึ้นในที่ลุ่มน้ำขังและป่าพรุ

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eleiodoxa conferta (Griff.) Burr.

ชื่อวงศ์ : PALMAE

ลักษณะของหลุมพี

ผลไม้หายากของทางใต้ เป็นปาล์มชนิดหนึ่ง ลำต้นสั้นแตกหน่อเป็นกอใหญ่ เมื่อออกดอกผลแล้วจะตาย เริ่มออกดอกตั้งแต่เดือนมิถุนายน – กันยายน ออกผลตั้งแต่ดือนพฤศจิกายน – มีนาคม ตั้งแต่เริ่มออกช่อดอกจนถึงผลสุก ใช้ระยะเวลา ประมาณ 18 – 20 เดือน

ใบ ประกอบรูปขนนก ออกเวียนสลับ ยาว300 – 500 ซม. กว้าง 100 – 200 ซม. ก้านใบและกาบใบมีหนามยาวแหลม เรียงเป็นแผง มีใบย่อยมาก ใบย่อยเรียวยาว ปลายแหลม เรียงเป็นระเบียบสองข้างก้านช่อใบ

ดอก เล็กสีแดง ออกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายลำ ยาว 50 -100 ซม. มีกาบหุ้มช่อหลายกาบ  เริ่มออกดอกตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน – กันยายน

ผล รูปไข่กลับ ออกมาเป็นทะลาย ประกอบไปด้วยผลประมาณ 200 – 300 ผล เปลือกบาง มีเกล็ดเล็กเรียงซ้อนกันอยู่ทั่ว เมื่อสุกผลจะมีสีเหลืองหรือสีแสดอมน้ำตาล คล้ายผลระกำ เนื้อภายในมีสีชมพูอมเหลือง มีรสเปรี้ยวฝาด มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางผลประมาณ 2.5 ซม. ออกผลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – มีนาคม

ต้นหลุมพี
ต้นหลุมพี ลำต้นสั้นแตกหน่อเป็นกอ ก้านใบและกาบใบมีหนามยาวแหลม

การขยายพันธุ์ของหลุมพี

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่หลุมพีต้องการ

ประโยชน์ของหลุมพี

ผลอ่อน  มีรสฝาดเปรี้ยวนำมาใช้ประกอบอาหาร  เช่น แกงเหลืองแกงส้ม
ผลแก่ ใช้ปรุงรสแทนมะนาว เช่น แกงส้ม แกงเหลือง หรืออาจใช้รับประทานเป็นของว่าง ก่อนทานนำไปแช่น้ำเกลือประมาณ 1 – 2 วัน ชิมรสชาติให้มีรสเปรี้ยวพอเหมาะ  จิ้มกับน้ำปลาหวาน หรือจิ้มกับพริกเกลือ
ยางในลำต้นเหนียวใช้ติดกระดาษแทนกาวได้

ผลหลุมพี
ผลหลุมพี ผลรูปไข่กลับ ผลสุกมีสีเหลืองหรือสีแสดอมน้ำตาล

สรรพคุณทางยาของหลุมพี

  • ผล ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ
  • ผลสุก นำคั้นเอาน้ำผสมกับเกลือและน้ำตาล จิบกินเป็นตัวยา ใช้เป็นยาแก้ไข้ทับระดู

คุณค่าทางโภชนาการของหลุมพี

การแปรรูปของหลุมพี

นิยมนำผลมาดอง, น้ำผลไม้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11897&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment