หวายขม หวายเขียว พืชตระกูลปาล์ม ลำต้นมีหนาม

หวายขม

ชื่ออื่นๆ : หวายเขียว (นครราชสีมา) แกรบาตู (มลายู นราธิวาส) หวายขม (ทั่วไป) หวายบุ่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : หวายขม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calamus siamensis Becc.

ชื่อวงศ์ : Calamus

ลักษณะของหวายขม

ต้น เป็นพืชตระกูลปาล์ม ลำต้นเป็นลำต้นเกี่ยวพันหรือเลื้อยเกาะ เป็นลำต้นแตกกอ (multiple trunk) ลำต้นสามารถแตกหน่อด้านข้างในตำแหน่งใต้ดินหรือใกล้ผิวดินเป็นกอ เป็นกอขนาดเล็ก มีหนามบริเวณลำต้น ลำต้นมีสีเขียวปนน้ำตาล รากแบบระบบรากฝอย (fibrous root system) รากเป็นรากเกิดใหม่ที่โคนต้น

ใบ ใบเป็นรูปขนนกเป็นพวง (plumose) รูปใบเรียวแหลม ฐานใบแหลม ใบมีสีเขียวทั้งหลังใบและใต้ใบ ขอบใบมีหนามแหลมเล็กแหลม

ดอก ช่อดอกแบบแตกแขนงเป็นช่อดอกเล็กๆ ช่อดอกจะผลิดอกย่อยออกมาจากภายใต้ก้าน ช่อดอกประกอบด้วย ดอกเพศผู้สีเหลืองนวล ดอกเพศเมียสีเหลือง

ผล ผลมีลักษณะรูปร่างกลม ขนาด 1-2 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล

ต้นหวายขม
ต้นหวายขม ลำต้นสีเขียวปนน้ำตาล มีหนามบริเวณลำต้น

การขยายพันธุ์ของหวายขม

การเพาะเมล็ด, การแยกหน่อ

เมล็ดหวายโดยปกติจะเริ่มงอกหลังจาก เพาะประมาณ 2-3 สัปดาห์ และจะงอกหมดภายใน 9-10 สัปดาห์

ธาตุอาหารหลักที่หวายขมต้องการ

ประโยชน์ของหวายขม

  • ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ของหวาย เป็นส่วนของลำต้นที่ลอกเอากาบใบออกแล้ว นำมาจักสานเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน หวายทุกชนิดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะแตกต่างกันไป
  • ประโยชน์เบื้องต้นของหวาย ได้แก่ การนำมาใช้ผูกมัดสิ่งของต่าง ๆ
  • ผลนำมาใช้กิน
  • ลักษณะของต้นหวายจะเป็นลำต้นกลมมีข้อ ยอดและหน่อของหวายสามารถนำมารับประทานป็นอาหาร คล้ายหน่อไม้ มีรสชาติขม อาทิ แกงยอดหวาย  และแปรรูปอาหารได้มากมาย
  • เป็นยาสมุนไพร
ใบหวายขม
ใบหวายขม ใบมีสีเขียวทั้งหลังใบและใต้ใบ ขอบใบมีหนามแหลม

สรรพคุณทางยาของหวายขม

รากเป็นยารักษาโรคมะเร็ง

คุณค่าทางโภชนาการของหวายขม

การแปรรูปของหวายขม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12214&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment