หวายลิง ลำต้นเหนียว ใช้ทำเชือกและทำเครื่องจักสาน

หวายลิง

ชื่ออื่นๆ : หวายลิง, หวายเย็บจาก (ภาคใต้) หวายลี (สงขลา)

ต้นกำเนิด : แทนซาเนียตอนใต้ไปจนถึงโมซัมบิกและ แปซิฟิกตะวันตก

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Flagellaria indica Linn.

ชื่อวงศ์ : FLAGELLARIACEAE

ลักษณะของหวายลิง

ต้น เป็นไม้เลื้อย ลำต้นแข็งคล้ายหวาย เส้นผ่าศูนย์กลาง  0.3-0.8 ซม. แตกกิ่ง ยาว 3-5 เมตร หรือ บางครั้งอาจยาวได้ถึง 10 เมตร ลำต้นสีเขียว แต่เมื่อลำต้นแก่ จะเปลี่ยนเป็นสีเทา

ต้นหวายลิง
ต้นหวายลิง ลำต้นสีเขียว เหนียว

ใบ เรียวยาว รูปขอบขนานแกมรูปไข่ถึงรูปใบหอก ขนาด 0.5-2 x 7.5-20 ซม. ปลายใบเรียวยาว ม้วนงอ และแข็ง ทำหน้าที่เกาะไม้อื่น เพื่อพยุงลำต้นให้เลื้อยทอดสูงขึ้น ฐานใบกว้าง มีกาบใบหุ้มรอบลำต้น เรียงเวียนซ้อนทับกันเป็นระยะคล้ายกาบหวาย ไม่มีหนาม

ใบหวายลิง
ใบหวายลิง ใบเรียวยาว รูปขอบขนานแกมรูปไข่ถึงรูปใบหอก

ดอก เล็ก สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อแยกแขนงสั้น ๆ ที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกจำนวนมาก

ดอกหวายลิง
ดอกหวายลิง ดอกสีขาวอมเหลือง

ผล กลม ปลายผลมีติ่งแหลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อแก่จัดจะเป็นสีชมพูอมแดง เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ซม. แต่ละผลมี 1 เมล็ด หวายลิงพบมากในพื้นที่ป่าชายเลนที่เป็นดินเลนแข็ง มีระดับน้ำท่วมถึงเป็นครั้งคราว

ผลหวายลิง
ผลหวายลิง ผลกลม ผิวเรียบเป็นมัน

การขยายพันธุ์ของหวายลิง

การใช้เมล็ด หรือแยกก่อ

หวายลิงพบมากในพื้นที่ป่าชายเลนที่เป็นดินเลนแข็ง มีระดับน้ำท่วมถึงเป็นครั้งคราว

ธาตุอาหารหลักที่หวายลิงต้องการ

ประโยชน์ของหวายลิง

ลำต้นเหนียว ใช้ทำเชือก สามารถทำเครื่องจักรสานได้

สรรพคุณทางยาของหวายลิง

  • ใบ – ฝาดสมาน รักษาบาดแผล
  • ใบและดอก – ขับปัสสาวะ
  • ยอดอ่อน – สระผม
  • ผล – รักษาเม็ดหนองพุพอง
  • เมล็ด – มีพิษ
  • ลำต้นและเหง้า – ขับปัสสาวะ
  • ทั้งต้น – ขับปัสสาวะ

คุณค่าทางโภชนาการของหวายลิง

การแปรรูปของหวายลิง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10783&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment