หวายเล็ก เนื้อไม้ทำเครื่องจักสาน ยอดรับประทานได้

หวายเล็ก

ชื่ออื่นๆ : หวายกอ, กอเรียวเล็ก

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calamus javensis

ชื่อวงศ์ : Palmae

ลักษณะของหวายเล็ก

ลำต้นแยกเพศ เป็นหวายกอเรียวเล็ก บางครั้งอาจจะเป็นพุ่มสูงถึง 2 เมตร หรืออาจ ปีนป่ายขึ้นไปสูงกว่า 10 เมตร ลำต้นเมื่อลอกกาบหุ้มลำมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-6 มิลลิเมตร หรือ10 มิลลิเมตร เมื่อวัดรวมกาบหุ้มลำ ลำปล้องตามปกติยาวไม่เกิน 30 ซม.

ใบยาวถึง 40 ซม. ใบย่อยบริเวณ ปลายใบมีขนาดใหญ่กว่าใบย่อยด้านล่าง ปลายใบมีมือเกาะ ใบย่อยบนสุดของใบมักเชื่อมติดไปกับมือ เกาะอย่างน้อย 3 ใน 4 ความยาวของใบ ใบย่อยล่างสุดมักโค้งงอวกกลับห่อหุ้มลำต้น กาบหุ้มลำสีเขียว สดใส ปรกติยาวไม่เกิน 30 ซม. กาบอ่อนมักมีสีเหลือบแดง เป็นร่องตามยาว มีหนามปกคลุมหลายแบบ นับตั้งแต่ไม่มีหนาม ไปจนถึงปกคลุมด้วยหนามแหลมเล็กตามแนวราบ หนามเรียวเล็กหรือรูปสาม- เหลี่ยมยาวไม่เกิน 5 มม. โคนก้านใบยาวเล็ก หรือรูปสามเหลี่ยมยาวไม่เกิน 5 มม.

ต้นหวายเล็ก
ต้นหวายเล็ก ปลายใบมีขนาดใหญ่ กว่าใบย่อยด้านล่าง

การขยายพันธุ์ของหวายเล็ก

ใช้เมล็ด/ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เมล็ดหวายโดยปกติจะเริ่มงอกหลังจาก เพาะประมาณ 2-3 สัปดาห์ และจะงอกหมดภายใน 9-10 สัปดาห์

ธาตุอาหารหลักที่หวายเล็กต้องการ

ประโยชน์ของหวายเล็ก

ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้ ทำเครื่องจักสาน เช่น สานตะกร้า ทำเครื่องดนตรี เป็นเชือกสำหรับผูกมัด ใช้ทำ เครื่องเรือน

สรรพคุณทางยาของหวายเล็ก

ยอดรับประทานได้ รักษาอาการไอ

คุณค่าทางโภชนาการของหวายเล็ก

การแปรรูปของหวายเล็ก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10787&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment