หัวข่า ใช้ประกอบอาหารและมีสรรพคุณทางยา

หัวข่า

ข่า เป็นไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตรอยู่เหนือพื้นดิน เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน เนื้อในสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม

อาหารเพื่อสุขภาพ สมุนไพรเพื่อสุขภาพ เป็นอาหารที่มีข่าเป็นส่วนประกอบ สำหรับ อาหารไทย ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ทั้ง เมนูต้ม เมนูผัด เมนูแกง เมนูทอด เมนูปิ้งย่าง เป็นต้น

ข่า
ข่า เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน

ประโยชน์ของการกินข่า

ประโยชน์ของข่า คือ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยขับน้ำดี ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา เป็นยารักษาแผลสด ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้รักษาโรคผิวหนัง ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ช่วยรักษากลากเกลื้อน ช่วยแก้โรคน้ำกัด ช่วยแก้ฟกช้ำ ช่วยแก้เหน็บชา ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศ ช่วยไล่แมลง ช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยแก้บิด แก้อาหารเป็นพิษ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร

สรรพคุณทางยาของข่า

สรรพคุณ ข่า ลดการบีบตัวของลำไส้ ขับน้ำดี ขับลม ลดการอักเสบ ยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อราใช้รักษากลากเกลื้อน

การใช้ข่ารักษากลาก, เกลื้อน เอาหัวข่าแก่ๆ ล้างให้สะอาดฝานเป็นแว่นบางๆ หรือทุบพอแตก นำไปแช่เหล้าขาวทิ้งไว้สัก 1 คืน ทำความสะอาดขัดถูบริเวณที่เป็นเกลื้อนจนพอแดง และแสบ ; แล้วเอาข่าที่แช่ไว้มาทาเฉพาะที่ๆ เป็นเกลื้อน ; จะรู้สึกแสบๆ เย็นๆ ; ทาเช้าและเย็นหลังอาบน้ำทุกวัน ประมาณ 2 สัปดาห์ เกลื้อนจะจางลงและหายไปในที่สุด
การใช้ข่ารักษาอาการแน่นจุกเสียด ใช้เหง้าสด 5 กรัม หรือเหง้าแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำจนเดือด รินน้ำดื่ม หรือ กวนหัวข่าแก่ตำละเอียดกับน้ำปูนใส 2 แก้ว นำมาดื่ม

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์
1. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ข่ามีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ โดยพบสารออกฤทธิ์ คือ cineole , camphor และ eugenol
2. ฤทธิ์ขับน้ำดี ข่ามี eugenol ซึ่งมีฤทธิ์ขับน้ำดี จึงช่วยย่อยอาหารได้
3. ฤทธิ์ขับลม ข่ามีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีฤทธิ์ขับลม
4. ฤทธิ์ลดการอักเสบ ข่ามีสารออกฤทธิ์ คือ 1′-acetoxychavicol acetate , 1′-acetoxyeugenol acetate และ eugenol ช่วยลดการอักเสบ และตำรับที่มีข่าเป็นส่วนประกอบมีฤทธิ์ลดอักเสบได้
5. ฤทธิ์ยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร ข่ามีสารออกฤทธิ์คือ 1′-acetoxychavicol acetate และ 1′-acetoxyeugenol acetate จึงช่วยยับยั้งแผลในกระเพาะอาหารได้
6. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สารสกัดข่าด้วยไดเอทิลอีเธอร์ ปิโตรเลียมอีเธอร์ และน้ำกลั่นสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli ที่เป็นสาเหตุของอาการแน่นจุกเสียดท้องได้ โดยพบ eugenol เป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
7. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา สารสกัดข่าด้วยน้ำกลั่น เมทานอล ไดคลอโรมีเทน เฮกเซน หรืออัลกอฮอล์ สามารถฆ่าเชื้อรา คือ Microsporum gypseum, Trichophyton rubrum และ Trichophyton mentagrophyte ที่เป็นสาเหตุของโรคกลากเกลื้อนได้ โดยพบ 1′-acetoxychavicol acetate และ 1′-acetoxyeugenol acetate เป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา
8. การทดลองทางคลินิกใช้รักษากลากเกลื้อน ได้มีการศึกษาการรักษากลากโดยใช้ข่าเปรียบเทียบกับ tolnaftate พบว่าได้ผล

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11015&SystemType=BEDO
https://www.thaihealth.or.th
https://www.flickr.com

Add a Comment