หัวผักกาด หรือหัวไชเท้า นิยมนำมาทานสดหรือดองเค็ม

หัวผักกาด

ชื่ออื่นๆ : ไช่เท้า,หัวผักกาดขาว (ทั่วไป) ; ผักกาดจีน(ภาคกลาง) ; ผักขี้หูด, ผักเปิ๊กหัว (ภาคเหนือ) ; ไหล่ฮก, จี๋ซ้ง (จีน)

ต้นกำเนิด : ประเทศจีน

ชื่อสามัญ : Chinese radish, Oriental radish, Daikon

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Raphanus sativus Linn., Cv group Chinese radish

ชื่อวงศ์ : Cruciferae

ลักษณะของหัวผักกาด

ต้น เป็นพืชจำพวกผัก มีรากสะสมอาหารลักษณะทรงกระบอกใหญ่ยาว สีขาวหรือสีอื่น ต้นสูงประมาณ 1 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก

ใบ ใบแตกออกจากโคนต้นเป็นกอ ยาว 12-12 ซม. ตัวใบใหญ่ปลายใบมน ขอบใบมีรอยเว้าลึก 4-6 คู่ทั้ง 2 ข้าง ขอบใบมีรอยหยักคล้ายฟัน ก้านใบลักษณะสามเหลี่ยม ขอบมนใบที่ออกจากต้นที่ชูสูงขึ้นจะมีขนาดเล็กลง ใบรูปไข่กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 3-5 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบมีรอยหยักตื้น ๆ หรือแทบไม่มีเลย โคนใบมีก้านสั้น ๆ หรือแทบไม่มี

ดอก ดอกออกเป็นช่อจากปลายก้านดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเขียวเป็นแผ่นยาวปลายมนกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ เป็นแผ่นยาวปลายมนกลมสีม่วงอ่อนหรือสีชมพู ส่วนโคนกลีบดอกสีขาว มีเกสรตัวผู้ 4 อัน และเกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่ลักษณะเป็นฝักยาวกลม

ผล ผลเป็นฝักยาวมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดกลม แบนเล็กน้อยมีสีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 มม.

ต้นหัวผักกาด
ต้นหัวผักกาด พืชจำพวกผัก ใบแตกออกจากโคนต้นเป็นกอ
รากหัวผักกาด
รากหัวผักกาด รากสะสมอาหาร ทรงกระบอกสีขาว

การขยายพันธุ์ของหัวผักกาด

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่หัวผักกาดต้องการ

ประโยชน์ของหัวผักกาด

นิยมปลูกเพื่อใช้รับประทานสด  ดองเค็ม  ทำขนม นำมาเป็นส่วนประกอบในการทำอาหาร เช่น ต้มจืด ต้มจับฉ่าย เป็นต้น

สรรพคุณทางยาของหัวผักกาด

  • ราก : รสชุ่ม เย็น ละลายเสมหะ แก้พิษ ท้องอืดแน่นเนื่องจากกินมากเกิน เสมหะมากไม่มีเสียง อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด กระหายน้ำ บิด และปวดหัวข้างเดียว รากทำให้สุก ใช้เป็นยาระบาย สมานลำไส้ บำรุงม้าม ขับเสมหะ เรียกน้ำลาย แก้คันและบำรุงเลือด
  • เมล็ด  : รสเผ็ด ชุ่ม เย็น เมล็ดคั่วแล้วมีรสเผ็ด ชุ่ม สุขุม ใช้เป็นยาระบาย ระงับอาการหอบ ช่วยย่อยอาหาร ขับเสมหะ แก้ไอหอบมีเสมหะมาก ท้องอืดแน่น บิด และแก้บวม
  • ใบหรือทั้งต้น : รสเผ็ด ขม สุขุม ทำให้เจริญอาหาร แก้ท้องเฟ้อเรอเปรี้ยว ท้องอืดแน่น อาหารไม่ย่อย บิด ท้องร่วง เจ็บคอ ต่อมน้ำนมบวม และน้ำนมคั่ง
  • ใบสด  : คั้นเอาน้ำทา แก้ผิวหนังเป็นผื่นคันมีน้ำเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของหัวผักกาด

การแปรรูปของหัวผักกาด

การแปรรูปผักกาดหัวให้เป็นผักกาดเค็ม ผักกาดดองหวานที่เรียกว่า หัวไชโป๊ว เป็นวิธีถนอมอาหารอีกวิธีหนึ่ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11026&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment