หางหมาจอก หญ้าหางแมว ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง ดอกย่อยจำนวนมากเรียงตัวอัดกันแน่นเป็นแท่ง

หางหมาจอก

ชื่ออื่นๆ : หญ้าหางแมว (สตูล) หางกระรอก (กรุงเทพมหานคร) หญ้าตะขาบ (ราชบุรี) เสลดพังพอนกะเหรี่ยง (กาญจนบุรี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : หางกระรอก หญ้าตะขาบ เสลดพังพอนกะเหรี่ยง ขี้หนอน หางหมา หางอ้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Uraria crinita (L.) Desv. ex DC.

ชื่อวงศ์ : Leguminosae-Papilionoideae

ลักษณะของหางหมาจอก

ต้น ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 0.5-1.5 เมตร

ใบ ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อย 3-11 ใบ รูปวงรีแกมขอบขนาน แกมใบหอก กว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร แผ่นใบเหนียว ผิวใบมัน ปลายใบแหลม ฐานใบมน ขอบใบเรียบ

ดอก ดอกช่อกระจะ ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมากเรียงตัวอัดกันแน่นเป็นแท่ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ยาว 15-20 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาวปนม่วง รูปดอกถั่ว สีม่วงแกมชมพู ก้านดอกย่อยมีขนยาว ปลายขนงอเป็นตะขอ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 10 อัน ค่อนข้างแข็ง

ผล ผลเป็นฝักรูปขอบขนาน แบน คอดเป็นข้อๆ พับงอไปมา เมื่อสุกสีดำ ไม่แตก

ต้นหางหมาจอก
ต้นหางหมาจอก ลำต้นตั้งตรง ใบประกอบแบบขนนก

การขยายพันธุ์ของหางหมาจอก

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่หางหมาจอกต้องการ

ประโยชน์ของหางหมาจอก

  • ใบและช่อดอกของหางหมาจอกจะนำไปใส่ในไหปลาร้า ให้หนอนแมลงวันเกาะขึ้นมาแล้วเคาะทิ้งไป
  • เป็นพืชสมุนไพร ทางภาคเหนือใช้ทั้งต้นต้มรวมกับตัวยาอื่นแก้ปวดเมื่อย รากต้มผสมกับตัวยาอื่น แก้อาการทางประสาท ฝนกับน้ำปูนใสใช้รักษาฝี
ดอกหางหมาจอก
ดอกหางหมาจอก ดอกสีขาวปนม่วง

สรรพคุณทางยาของหางหมาจอก

  • ราก ผสมรากแกลหนู รากกาสามปีกใหญ่ รากกาสามปีกเล็ก และรากโมกมัน ต้มน้ำดื่ม แก้อาการทางประสาท ฝนน้ำปูนใสทา รักษาฝี
  • ยาพื้นบ้านล้านนา ใช้ ทั้งต้น ผสมหัวยาข้าวเย็น ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย
  • ตำรายาไทย ใช้ ราก รสจืด ฝนกับสุรา หรือน้ำมะนาวรับประทาน และทาแก้พิษงู พิษขบกัด
    ใบและช่อดอกนำไปใส่ในไหปลาร้า ให้หนอนแมลงวันเกาะขึ้นมาแล้วเคาะทิ้ง

คุณค่าทางโภชนาการของหางหมาจอก

การแปรรูปของหางหมาจอก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12151&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com

Add a Comment