หูปลาช่อน ปลูกเป็นไม้ประดับสวน ไม้กระถาง

หูปลาช่อน

ชื่ออื่นๆ : หูกระต่าย, โพด่าง, โพแดง, โพลาย, แสงทอง

ต้นกำเนิด : ชวาและปาปัวนิวกินี

ชื่อสามัญ : Copperleaf, Beefsteak plant, Fire dragon plant

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acalypha wilkesiana Müll. Arg.

ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะของหูปลาช่อน

ต้น ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ลำต้นตั้งตรง สีน้ำตาล มีขนนุ่ม

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปร่างหลายแบบทั้งรูปกลม รูปไข่ รูปรี หรือรูปรีปลายมนหรือเรียวแหลมถึงยาวคล้ายหาง โคนใบเว้า ขอบหยักหรือจักแบบฟันเลื่อย มีหลายสี เช่น สีเหลืองอ่อน น้ำตาลแดง หรือมีจุดประสีต่างๆ

ดอก ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกตามซอกใบ ส่วนมากเป็นดอกเพศเมียหรือทั้งสองเพศ ช่อดอกตั้ง สีแดงหรือสีเขียว ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ดอกตูมลักษณะคล้ายตุ่ม ใบประดับสีแดงสดรูปไข่ ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก

ต้นหูปลาช่อน
ต้นหูปลาช่อน ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง

การขยายพันธุ์ของหูปลาช่อน

ปักชำ, ตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่หูปลาช่อนต้องการ

ต้องการน้ำปานกลาง-มาก แสงแดดจัด

ประโยชน์ของหูปลาช่อน

ปลูกเป็นกลุ่มประดับสวน ปลูกเป็นรั้ว ริมถนน หรือทางเดิน นิยมตัดแต่งทรงพุ่มเป็นรูปทรงกลม

ใบหูปลาช่อน
ใบหูปลาช่อน ใบเว้า ขอบหยักหรือจักแบบฟันเลื่อย สีน้ำตาลแดง มีจุดประสีต่างๆ

สรรพคุณทางยาของหูปลาช่อน

คุณค่าทางโภชนาการของหูปลาช่อน

การแปรรูปของหูปลาช่อน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11876&SystemType=BEDO

Add a Comment