ห้อมหรือฮ่อม ทั้งต้นสดสับเป็นท่อนต้มเคี่ยว เพื่อทำสีย้อมผ้า

ห้อมหรือฮ่อม

ชื่ออื่นๆ : ฮ่อมเมือง, ครามหลอย, ครามเหล็กขูด, ครามย่าน, ใบเบิก

ต้นกำเนิด : พบในป่าธรรมชาติของภาคเหนือตอนบน

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baphicacanthus cusia Brem.

ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE

ลักษณะของห้อมหรือฮ่อม

ต้น เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี  ลำต้นความสูง 0.5-1.5 เมตร ลำต้นตั้งตรง ลำต้นเกลี้ยง เป็นข้อปล้องคล้ายขาไก่แตกกิ่งก้านตามข้อ ลำต้นกลม ห้อม สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดใบใหญ่ จะมีลักษณะใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว การจัดระเบียบของใบที่ติดอยู่ตามลำต้นเป็นแบบตรงกันข้ามตั้งฉากกัน โดยแต่ละคู่ของใบในข้อหนึ่งอยู่ในแนวตั้งฉากกับคู่ของใบอีกข้อหนึ่ง ก้านใบยาว ประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร

ใบ แผ่นใบมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ขนาดใบกว้าง ประมาณ 6.2-8.3 เซนติเมตร ยาว 18.2-24 เซนติเมตร การจัดเรียงเส้นใบเป็นแบบร่างแหรูปขนนก รูปร่างของใบเป็นแบบใบหอกกลับ ปลายใบแหลม โคนใบเรียวแหลม ขอบใบเป็นหยักฟันเลื่อยละเอียด ส่วนห้อมชนิดใบเล็ก มีลักษณะของใบคล้ายกับชนิดใบใหญ่ แต่ขนาดจะเล็กกว่า ใบด้านบนสีเขียวมัน ใบแก่หรืออ่อนเมื่อถูกกด หรือทุบทิ้งไว้กลายเป็นสีดำเส้นแขนงใบเป็นร่างแหมีจำนวนเส้นใบ 7-9 คู่ดอก

ดอก ดอกสีม่วง ออกเป็นช่อออกตามซอกใบและปลายกิ่งเป็นช่อแยกแขนง ช่อดอกยาว 1-6 ซม. ก้านช่อดอกยาว 1-12 ซม. มีใบประดับรองรับกลีบเลี้ยง ปลายแยก 5 แฉก แต่ละแฉกยาว 0.8-1.5 มม. มีขนนุ่มปกคลุม กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปทรงกระบอกยาว 3.5-5 ซม.ปากกว้าง 3 มม. ปลายกลีบดอกแยก 4 แฉก แต่ละแฉกมีขนาด 9 X 9 มม.สีม่วง ขนาดแตกต่างกันเล็กน้อย ปลายกลีบโค้งเล็กน้อยด้านนอกเกลี้ยง เกสรเพศผู้ 4 อัน ก้านชูอับเรณูยาว ประมาณ 7 มม.

ผล ผลแห้งแบบแคปซูลขนาด 1.5-2.2 ซม. เกลี้ยง 4 เมล็ด เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลแตกง่าย ออกดอกในช่วง เดือน
กรฎาคม-กุมภาพันธ์ ติดผลในช่วงเดือน ธันวาคม – กุมภาพันธ์

ห้อม
ห้อม ลำต้นตรง เกลี้ยง ใบด้านบนสีเขียวมัน

การขยายพันธุ์ของห้อมหรือฮ่อม

การใช้เมล็ด ปักชำกิ่ง และการชำราก

ธาตุอาหารหลักที่ห้อมหรือฮ่อมต้องการ

ต้นฮ่อมจะเติบโตได้ดีในที่ที่มีแดดรำไร มีความชุ่มชื้นสูง และน้ำซึมตลอดเวลา

ประโยชน์ของห้อมหรือฮ่อม

  • เป็นไม้ประดับ
  • ทั้งต้นสดสับเป็นท่อนต้มเคี่ยว เพื่อทำสีย้อมผ้า ให้สีน้ำเงินเข้มเกือบดำ

ห้อม เป็นไม้พุ่มที่พบในป่าธรรมชาติของภาคเหนือตอนบน ชาวบ้านนำมาผลิตเป็นวัตถุดิบสำหรับย้อมผ้าหม้อห้อมเป็นเอกลักษณ์ ต้นห้อมเป็นไม้พุ่มที่พบในป่าธรรมชาติที่ชุ่มชื้นของภาคเหนือตอนบน เดิมชาวบ้านจะเก็บลำต้นและใบห้อมจากป่ามาใช้ประโยชน์แต่ในปัจจุบันพื้นที่ป่าลดลงทำให้ห้อมที่ขึ้นในธรรมชาติเหลือน้อยลงและอาจสูญพันธุ์ในอนาคตได้ในขณะที่การผลิตเสื้อผ้าหม้อห้อมเพิ่มมากขึ้น ชาวบ้านจึงขาด วัตถุดิบสำหรับย้อมผ้า จึงต้องนำเข้าห้อมสดจากแหล่งอื่น อาทิเช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือพืชชนิดอื่นแทน เช่น คราม ด้วยเหตุนี้การปลูกต้นฮ่อมยังมีข้อจำกัดในสภาพพื้นที่ปลูก จำเป็นที่ต้องปลูกในพื้นที่สูงตามภูเขาที่มีอากาศเย็นตลอดทั้งปีอีกทั้งผู้ปลูกขาดความเข้าใจต่อการพัฒนาหาแหล่งปลูกที่เหมาะสมจนทำให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการในอุตสาหกรรมการผลิตผ้าหม้อห้อม จากความต้องการผ้าหม้อห้อมที่มีเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ปริมาณต้นห้อมในธรรมชาติลดน้อยลง ทำให้ไม่สอดคล้องกับการค้าขายเสื้อผ้าหม้อห้อม โดยเฉพาะวัตถุดิบจากต้นห้อมที่นำมาใช้ย้อมผ้า ทำให้มีการนำครามหรือสารเคมีมาใช้ย้อมผ้าทดแทนห้อม ส่งผลกระทบต่อผู้สวมใส่ที่แพ้สารเคมี ส่วนน้ำย้อมที่เหลือจากการย้อมผ้าปล่อยทิ้งไปในธรรมชาติ ทำให้สภาพแวดล้อม ดิน น้ำใต้ดิน เสื่อมคุณภาพ

ผ้าหม้อห้อมเนื้อฝ้ายที่สามารถระบายอากาศได้ดีช่วยให้สวมใส่สบายไม่อับชื้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาให้มีผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบ คือ ผ้ายย้อมลายฟ้าผืน ผ้าย้อมลายมัดย้อม ผ้าห่มย้อมลายมัดย้อม เสื้อผ้าซาฟารีแขนสูท เสื้อสตรีสำเร็จรูป หมอนอิงฉลุ และของใช้ของที่ระลึก จากการรายงานพบว่าช่วงเดือนมกราคม ถึง สิงหาคม ปี 2561 ประเทศไทยส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มซึ่งมีมูลค่ามากถึง 643.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แบ่งออกเป็นสิ่งทอมูลค่าการส่งออก 415.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเครื่องนุ่งห่มมูลค่าการส่งออก 228.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ภูมิภาคอาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามลำดับ และประเทศส่งออกที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน เวียดนาม และอินโดนีเชีย ตามลำดับ

ดอกห้อม
ดอกห้อม ดอกสีม่วง

สรรพคุณทางยาของห้อมหรือฮ่อม

  • รากและใบ ต้มน้ำดื่มแก้ไข้ เจ็บคอ หลอดลม อักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ
  • ใบและลำต้น นำไปต้มดื่มแก้อาการท้องร่วง
  • ใบและยอดอ่อนตำใส่ข้าวสารใช้ประคบรักษาพิษไข้ของเด็กและผู้ใหญ่

คุณค่าทางโภชนาการของห้อมหรือฮ่อม

การแปรรูปของห้อมหรือฮ่อม

  • เป็นส่วนผสมของสบู่ สีย้อมผม แชมพูสระผม
  • อุตสาหกรรมสิ่งทักทอ และเครื่องนุ่งห่ม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9890&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com

Add a Comment