อเลา อินทนิลบก เป็นไม้ประดับที่ให้ร่มเงา

อเลา

ชื่ออื่นๆ : อินทนิลบก (กลาง) กากะเลา (อุบลราชธานี) กาเสลา (ตะวันออกเฉียงเหนือ) จ้อล่อ , จะล่อ , จะล่อหูกวาง (เหนือ)  ปะหน่าฮอ , ซีมุง (แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : อินทนิลบก Inthanin bok

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia macrocarpa Wall.

ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE

ลักษณะของอเลา

ต้น  เป็นต้นไม้ ผลัดใบขนาดกลาง สูง 8 – 20 ม. ผลัดใบ โคนต้นไม่ค่อยมีพูพอน กิ่งมีขนาดใหญ่และมักชูขึ้นข้างบน เรือนยอด เป็นรูปทรงกระบอก กิ่งออกต่ำจึงมักคลุมลำต้นไว้ไม่น้อยกว่าสามในสี่ส่วนของความสูงทั้งหมด เปลือกนอก สีน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบหรืออาจะมีสะเก็ดของเปลือกเป็นแผ่นบาง ๆ ติดอยู่เล็กน้อย ตามบริเวณลำต้นมักมีปุ่มปมหรือรอยแผลเป็นของกิ่งใหญ่ ๆ ที่หลุดร่วงไปเหลืออยู่ เปลือกใน สีชมพูอ่อน

ลำต้นอินทนิลบก
ลำต้นอินทนิลบก เปลือกต้นสีเทาอ่อน

ใบ ใบเดี่ยว ติดตรงข้ามหรือเยื้องกันบ้าง ห่างบ้างตามโอกาส รูปใบรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 12 – 17 ซม. ยาว 20 – 30 ซม. เนื้อใบหนามีขนาดใหญ่มาก ผิวใบเกลี้ยงเป็นมันไม่มีขนทั้งสองด้าน หลังใบสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบสีจางกว่า เส้นแขนงใบ มี 12 – 20 คู่ ปลายเส้นโค้งจรดกับเส้นถัดขึ้นไปบริเวณใกล้ ๆ ขอบใบ ส่วนเส้นใบย่อยแบบขึ้นบันไดไม่ค่อยเป็นระเบียบนักและเห็นได้ชัดทางด้านท้องใบ ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. หรืออาจยาวกว่าบ้างเล็กน้อย เกลี้ยง ๆ ใบอ่อน สีน้ำตาลแดง ใบแก่ หลังใบเขียวเข้มกว่าท้องใบ

ใบอินทนิลบก
ใบอินทนิลบก แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเกลี้ยง ไม่มีขน

ดอก ดอกโต ออกรวมกันเป็นช่อโต ๆ ตามปลายกิ่งและตามง่ามใบตอนใกล้ ๆ ปลายกิ่ง ดอกบานเต็มที่กว้างถึง 12 ซม. โคนกลีบรองกลีบดอกติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูปกรวยหงาย มีสันนูนตามยาวพอมองเห็นได้ 12 สัน มีขนคลุมประปรายทางด้านนอก ส่วนด้านในเกลี้ยง ปลายแยกเป็นแฉกแหลมทู่ ๆ 6 แฉก ดอกตูมเป็นรูปลูกข่าง ตรงกลางของส่วนบนสุดของดอกตูมมีรอยบุ๋มเป็นแอ่งลงไปเล็กน้อย ซึ่งแตกต่างไปจากอินทนิลน้ำที่ตรงกลางเป็นติ่งยื่นออกมา กลีบดอกมี 6 กลีบ ไม่ติดกัน แต่ละกลีบเป็นแผ่นกลมเป็นรูปโล่ กว้างประมาณ 3 ซม. โคนเป็นก้านเรียว ๆ เมื่อบานเต็มที่กลีบมักแผ่เป็นมุมฉากกับกลุ่มเกสรผู้ ที่ออกรวมเป็นกระจุกสีเหลืองอยู่ตรงกลางดอก ดอก สีม่วงสด ใกล้ร่วงสีขาวซีด ๆ รังไข่ รูปรี ๆ ไม่มีขนคลุม ภายในแบ่งเป็น 5 – 6 ช่องแต่ละช่องมีไข่อ่อนมาก

ดอกอินทนิลบก
ดอกอินทนิลบก ดอกสีม่วงสด เมื่อใกล้ร่วงจะเปลี่ยนเป็นสีขาว

ผล ผลใหญ่เป็นชนดผลแห้ง ผิวเกลี้ยง รูปไข่หรือรูปรี ๆ ยาว 3 – 3.5 ซม. ผลแก่ เมื่อแก่จัดจะแตกทางด้านบนเป็น 5 – 6 เสี่ยง เมล็ดเล็ก มีปีกบาง ๆ โค้งทางด้านบนหนึ่งปีก

ระยะเวลาในการออกดอกและเป็นผล ก่อนดอกออกผลัดใบหมดต้น จะผลิใบออ่นพร้อมกับแทงช่อดอกในเวลาต่อมา ดอกจะเริ่มทยอยกันบานติดต่อกันนั่นคือ ออกดอกระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม ผลแก่เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม

การขยายพันธุ์ของอเลา

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่อเลาต้องการ

ประโยชน์ของอเลา

  • เป็นไม้ที่ให้ร่มเงา
  • เนื้อไม้แปรรูป เสี้ยนตรง เนื้อค่อนข้างละเอียด เลื่อย ไสกบ ตบแต่งได้ง่าย ขัดเงาได้งาม นิยมใช้ก่อสร้างบ้านเรือน เช่น ทำเสา กระดานพื้น ฝา คาน ตง รอด ทำเรือ เครื่องเกวียน และเครื่องมือทางการเกษตร ด้านสมุนไพร ไม่ปรากฎรายงานการวิจัย

ด้านการเป็นไม้ประดับ ความน่าสนใจของไม้ต้นนี้คือ เป็นไม้ต้นที่มีรูปทรงลำต้นและเรือนยอดเป็นรูปกรวย ทำให้ใช้พื้นที่ปลูกไม่กว้างนัก มีใบใหญ่แข็งแรง ใบอ่อนสีน้ำตาลแดงสดใส เป็นอีกสีสันหนึ่งของอินทนิลบก ก่อนการเปลี่ยนสีเป็นใบเขียวแก่ ดอกขนาดโตมากเห็นเด่นชัดและสีสันสวยงาม เมื่อออกดอกจะเห็นเด่นชัดในพุ่มเรือนยอด ดอกทนนานออกตามปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ช่วงเวลาในการออกดอกเข้าฤดูร้อนถึงต้นฤดูฝนพอดี ช่วยให้ความสดชื่นในยามร้อนแสนร้อนได้ดี นิยมปลูกประดับทั่วไป นำไปปลูกประดับในป่าอนุรักษ์โดยจัดภูมิทัศน์ให้เหมาะสม จะช่วยเพิ่มสีสันป่าและความสดชื่นได้มาก

สรรพคุณทางยาของอเลา

  • เปลือก รสฝาดขม แก้ไข้ แก้ท้องเสีย
  • ใบ รสจืดขมฝาดเย็น ต้มหรือชงน้ำร้อนดื่ม แก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ
    เป็นยาลดความดัน
  • เมล็ด รสขม แก้โรคเบาหวาน แก้นอนไม่หลับ
  • แก่น รสขม ต้มดื่มแก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้โรคเบาหวาน
  • ราก รสขม แก้แผลในปาก ในคอ เป็นยาสมานท้อง

คุณค่าทางโภชนาการของอเลา

การแปรรูปของอเลา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11896&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment