เกล็ดมังกร เป็นไม้เลื้อยเกาะอาศัย นิยมปลูกใส่กระเช้าหรือให้เกาะตามต้นไม้

เกล็ดมังกร

ชื่ออื่นๆ : กะปอดไม้ (เชียงใหม่ ชพ); เบี้ย (กลาง);กระดุมเสื้อ เกล็ดลิ่น (ชัยภูมิ อุบลราชธานี) อีแปะ (จันทบุรี); เบี้ยไม้ กีบม้าลม (เหนือ)

ต้นกำเนิด : จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Dischidia nummularia R.Br.

ชื่อวงศ์ : Asclepiadaceae

ลักษณะของเกล็ดมังกร

ไม้ล้มลุก เลื้อยเกาะอิงอาศัยบนต้นไม้อื่น ยาว 10-50 เซนติเมตร ทุกส่วนมีน้ำยางขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปกลม หรือรูปวงรีแกมรูปโล่ ขนาดเล็ก ปลายแหลมเป็นติ่งเล็ก ขอบใบเรียบ แผ่นใบมีเนื้อหนา กว้าง 4-8 มิลลิเมตร ยาว 4-11 มิลลิเมตร ก้านใบสั้น ยาวเพียง 2 มิลลิเมตร ดอกช่อกระจะ ออกที่ซอกใบ เป็นช่อสั้นๆ ดอกย่อยขนาดเล็กมี 1-5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท สีขาวแกมเหลือง ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ปลายกลีบเว้าเล็กน้อย มีรยางค์รูปมงกุฎ 5 อัน ตรงกลางดอกมีเกสรเพศผู้และเพศเมีย เชื่อมติดกัน ผลเป็นฝัก รูปดาบแกมขอบขนาน ยาว 1-1.5 นิ้วแตกตะเข็บเดียว เมล็ดจำนวนมากมีกระจุกขนสีขาวคล้ายเส้นไหม

เกล็ดมังกร
เกล็ดมังกร ไม้ล้มลุก เลื้อยเกาะอิงอาศัยบนต้นไม้อื่น

การขยายพันธุ์ของเกล็ดมังกร

ปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่เกล็ดมังกรต้องการ

ปรับตัวให้เข้ากับอากาศร้อนได้ดี ชอบความชื้นในอากาศสูง

ประโยชน์ของเกล็ดมังกร

เป็นไม้ประดับประเภทไม้ใบ นิยมปลูกใส่กระเช้า กระถาง หรือให้เกาะตามต้นไม้

สรรพคุณทางยาของเกล็ดมังกร

ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้  ทั้งต้น เข้ายาแก้โรคตับพิการ
ตำรายาไทย  ใช้  ทั้งต้น แก้อักเสบ ปวดบวม ถอนพิษไข้ พิษไข้กาฬ (ไข้ที่มีตุ่มที่ผิวหนัง ตุ่มอาจมีสีดำ) พิษตานซาง (โรคพยาธิในเด็ก มีอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย พุงโรก้นปอด ตกใจง่าย ไม่ค่อยทานอาหาร ซูบซีด ผอมแห้ง ท้องเดิน อุจจาระผิดปกติ อาจมีกลิ่นคาวจัด ชอบกินอาหารคาว) พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
ใบสด นำมาตำให้ละเอียด นำมาพอกบริเวณที่เป็นแผลพุพอง

ใบเกล็ดมังกร
ใบเกล็ดมังกร รูปกลม หรือรูปวงรีแกมรูปโล่ ขนาดเล็ก ปลายแหลม เป็นติ่งเล็ก

คุณค่าทางโภชนาการของเกล็ดมังกร

การแปรรูปของเกล็ดมังกร

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11781&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment