การเลือกทำเกษตรกรรมให้เหมาะกับพื้นที่ในภาคใต้

เกษตรกรรม เหมาะกับพื้นที่ ภาคใต้

การเกษตรแบบเกษตรตำบลในวันนี้จะนำสาระดีๆ ในการเลือกทำเกษตรกรรมให้เหมาะกับพื้นที่ในภาคใต้ประกอบด้วยทั้งหมด 14 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ตรัง ภูเก็ต ชุมพร ระนอง ยะลา นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง สตูล สงขลา และสุราษฏ์ธานี ซึ่งเป็นจังหวัดที่ใหญ่ ส่วนจังหวัดที่เล็กที่สุดคือจังหวัดภูเก็ต ทุกจังหวัดมีพื้นที่ติดกับทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลา ซึ่งภาคใต้นั้นมีพื้นที่ทั้งหมด 44.2 ล้านไร่ โดยประมาณ คิดเป็นร้อยละ 13.8 ของพื้นที่ทั้งประเทศ

การเลือกทำเกษตรกรรมให้เหมาะกับพื้นที่ในภาคใต้

     อาชีพของผู้คนส่วนใหญ่ในพื้นที่ภาคใต้จะประกอบอาชีพการทำเกษตรกรรม ได้แก่ ทำไร่ ทำนา ทำสวน จับสัตว์น้ำ และการประมง ลักษณะการประกอบอาชีกก็ย่อมแตกต่างกันไปตามลักษณะของพื้นที่อยู่อาศัย  ผู้ที่อยู่ที่ราบเชิงเขา ที่ราบระหว่างเขา จะมีอาชีพทำสวนยางพาราและทำสวนผลไม้ ทำไร่ยาสูบ (ยากลาย) ส่วนผู้ที่อยู่ที่ราบลุ่ม มีอาชีพทำนา จับสัตว์น้ำ และพวกที่อยู่ริมชายฝั่งทะเล ก็จะทำนา จับสัตว์น้ำ และทำประมงชายฝั่ง เป็นต้น

     ข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคใต้รายงานว่าปี พ.ศ. 2545 ภาคใต้มีประชากร 7.89 ล้านคน จำนวน 781,373 ครัวเรือน ประกอบด้วย 14 จังหวัด 151 อำเภอ 1,073 ตำบล 7,962 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมด 44.19 ล้านไร่ ใช้ทำการเกษตร 19.79 ล้านไร่ หรือ ร้อยละ 44.78 ของพื้นที่ทั้งหมด แยกเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดิน สำหรับการปลูกพืชกลุ่มต่างๆ 6 กลุ่มใหญ่ เรียงลำดับตามจำนวนพื้นที่ปลูกและสัดส่วนคิดเป็นร้อยละของพื้นที่ปลูกพืช

farmlandsouth

     อาชีพที่นิยมส่วนใหญ่ทางภาคใต้ก็คงเป็นการทำเกษตรกรรม เพราะพื้นที่ทางภาคใต้ถือได้ว่ามีความอุดมสมบูณณ์ทางด้านสภาพอากาศที่มีฝนตกเกือบตลอดทั้งปี สามารถที่จะเลือกทำเกษตรกรรมได้หลากหลายรูปแบบ การเกษตรกรรมจึงเป็นภาคการผลิตที่มีความสำคัญของภาคใต้มาโดยตลอด  โดยพืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคใต้ ได้แก่ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ มะพร้าว เงาะ มังคุด ทุเรียน ลองกอง และข้าว ( สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 จังหวัดสงขลา, 2553 ) ส่วนสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่โคเนื้อ กระบือ แพะ แกะ และสุกร ( กลุ่มสารสนเทศและข้อมูลสถิติ ศูนย์สารสนเทศ กรมปศุสัตว์, 2553 ) จากข้อมูลเหล่านี้จะเห็นได้ว่าพืชเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมสูงสุดก็คือยางพารา ที่ถือเป็นอาชีพหลักของทุกครัวเรือน แต่ช่วงปีที่ผ่านมาด้วยภาวะเศษฐกิจหลายๆอย่างจึงทำให้ยางพารามีราคาที่ต่ำลง ชาวบ้านก็ทำเกษตรอื่นๆร่วมกับการทำสวนยางพาราเพื่อให้มีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายมากขึ้น

     นอกจากนี้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งในภาคใต้ทำกันมากทั้งทางฝั่ง ตะวันออกและฝั่งตะวันตก สำหรับชนิดสัตว์น้ำที่นิยมเลี้ยงกันมากแต่เดิมคือกุ้งกุลาดำ โดยมีการเลี้ยงกันมากและ ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วง พ.ศ. 2535-2545 โดยระบบการเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงแบบพัฒนาที่มีความหนาแน่นสูงและใช้ เงินลงทุนสูง อย่างไรก็ตามจากปัญหามลภาวะต่อสภาพแวดล้อมและโรคระบาด รวมทั้งปัญหาราคากุ้งที่ลดต่ำลง ได้ส่งผลให้พื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำมีแนวโน้มลดลง ทำให้ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เป็นต้นมาเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจึงได้เปลี่ยนมาเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมแทน เนื่องจากเป็นกุ้งที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว มีความต้านทานต่อโรคสูง และให้ผลผลิตในอัตราสูง ประกอบกับมีต้นทุนการเลี้ยงต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับกุ้งกุลาดำ ทั้งนี้ ปริมาณกุ้งขาวจากการเพาะเลี้ยงส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 65 ของประเทศเป็นผลผลิตจากพื้นที่เพาะเลี้ยงในภาคใต้ รองลงมาเป็นภาคตะวันออกคิดเป็นร้อยละ 20 ( ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2553 )

     เกษตรตำบลหวังว่าสาระความรู้จากบทความการเลือกทำเกษตรกรรมให้เหมาะกับพื้นที่ในภาคใต้ เลือกปลูกพืช ทำสวน เลี้ยงสัตว์ แบบไหน เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น บทความช่วยในการประกอบการตัดสินใจทำการเกษตร ตลอดจนก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมสู่เกษตรกรและผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรทั่วไปได้

อ้างอิง : เกษตรกรรม.  “เกษตรกรรม”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:th.wikipedia.org.  [29 ก.พ. 2016].

ภาพประกอบ : www.flickr.com

Add a Comment