เขือก้อย หรือ เขือพวง (ภาคใต้) นิยมนำผลมาประกอบอาหาร

เขือก้อย หรือ เขือพวง (ภาคใต้)

ชื่ออื่นๆ : มะเขือพวง (กลาง) มะแคว้งกุลา (เหนือ) หมากแข้ง (อีสาน) มะเขือละคร (โคราช) เขือน้อย เขือพวง ลูกแว้ง เขือเทศ (ใต้) มะแว้งช้าง (สงขลา)

ต้นกำเนิด : หมู่เกาะเวสต์ อินดีส์ เม็กซิโก จนถึงอเมริกากลาง

ชื่อสามัญ : มะเขือพวง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum Torvum Sw

ชื่อวงศ์ : Solanaceae

ลักษณะของเขือก้อย หรือ เขือพวง (ภาคใต้)

มะเขือพวงนับเป็นมะเขือโบราณที่ยังมีลักษณะเป็นพืชป่าอยู่มาก เพราะไม่มีการปรับปรุงพันธุ์ดังเช่นมะเขือชนิดอื่น ๆ ดังเช่นผลขนาดเล็ก เปลือกที่หนาเหนียวเมล็ดมีมากมาย และหนามตามลำต้นและกิ่งก้าน เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีความทนทานแข็งแรงต่อดินฟ้าอากาศและโรคแมลงต่างๆ เหนือกว่ามะเขืออื่น ๆ โดยเฉพาะลักษณะยืนต้นข้ามหลาย ๆ ปี และลำต้นทรงพุ่มใหญ่โตเป็นพิเศษ ซึ่งไม่พบในมะเขือชนิดที่ปรับปรุงพันธุ์แล้ว
มะเขือพวงมีดอกขนาดเล็กกลีบดอกสีขาวหรือม่วง เกสรสีเหลืองผลกลมขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ก้านผลยาวอยู่รวมกันเป็นช่อกลม ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียวหนาเหนียว ผลแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อสุกเป็นสีแสดแดง ภายในผลมีเมล็ดมากมายแทบจะไม่มีเนื้อในผลเลย
ส่วนของมะเขือพวงที่นำมาใช้คือผลอ่อนที่มีสีเขียว หากใช้เป็นผักจิ้มนิยมทำให้สุกโดยการเผา ปิ้ง หรือย่าง พอให้ผิวกรอบหรือไหม้บางส่วน จะทำให้รสชาติดีขึ้น และผลนิ่มกว่าเมื่อยังดิบ นอกจากนี้ยังอาจนำไปลวกหรือต้มให้สุกก็ได้ แต่ไม่ค่อยนิยมกัน

มะเขือพวง
ลำต้นและใบมีหนาม รูปร่างกลมเล็กเป็นพวงผิวเรียบ

การขยายพันธุ์ของเขือก้อย หรือ เขือพวง (ภาคใต้)

ใช้เมล็ด/-

ธาตุอาหารหลักที่เขือก้อย หรือ เขือพวง (ภาคใต้)ต้องการ

ประโยชน์ของเขือก้อย หรือ เขือพวง (ภาคใต้)

เป็นสมุนไพรช่วยบำรุงสุขภาพ มากมาย สรรพคุณมะเขือพวง ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดเบาหวาน ช่วยเผาผลาญไขมัน มะเขือพวง เป็นพืชผักสมุนไพร และนิยมปลูกจนกลายเป็นพืชผักสวน นิยมนำผลมาประกอบอาหาร ผักพื้นบ้านของไทย

สรรพคุณทางยาของเขือก้อย หรือ เขือพวง (ภาคใต้)

ผลดิบของมะเขือพวงใช้เป็นยาแก้ไอ ขับปัสสาวะ และช่วยย่อยอาหาร การกินผลมะเขือพวงดิบเป็นอาหาร (เช่น ในเครื่องจิ้มชนิดต่าง ๆ) ก็คงมีสรรพคุณทางยาด้วยเช่นเดียวกัน ส่วนรากของมะเขือพวงใช้รักษาโรคฝ่าเท้าแตก หรือโรคตาปลา นอกจากนี้ยังเป็นแชมป์ผักพื้นบ้านที่มีเส้นใยเยอะที่สุดแก้ท้องผูก และมีเบต้าแคโรทีนต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของเขือก้อย หรือ เขือพวง (ภาคใต้)

การแปรรูปของเขือก้อย หรือ เขือพวง (ภาคใต้)

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11066&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

4 Comments

Add a Comment