ระย่อมน้อย ดอกมีสีขาว ปลูกเป็นไม้ประดับ

ระย่อมน้อย

ชื่ออื่นๆ : เข็มแดง (ภาคอีสาน) กอเหม่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) กะย่อม (ภาคใต้) เข็มแดง (ภาคเหนือ) คลาน, ตูมคลาน, มะโอ่งที, สะมออู (กะเหรียง-กาญจนบุรี) ระย่อม (ภาคกลาง)

ต้นกำเนิด : ภูมิภาคเอเชียใต้ เช่น อินเดีย ศรีลังกา เนปาล ภูฐาน

ชื่อสามัญ : Rauwolfia, Serpent wood, Indian Snake Root

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rauvolfia serpentina (L.) Benth. ex Kurz

ชื่อวงศ์ : Apocynaceae

ลักษณะของระย่อมน้อย

ต้น ไม้พุ่ม สูง 30-70 ซม. มียางขาว

ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือรอบๆ ข้อๆ ละ 3 ใบ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-20 ซม.

ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีขาวแกมเขียว เมื่อกลีบดอกโรยจะเปลี่ยนเป็นสีแดง กลีบดอกสีขาว โคนกลีบเป็นหลอดสีแดง

ผลเป็นผลสด รูปวงรี

ต้นระย่อมน้อย
ต้นระย่อมน้อย ไม้พุ่ม มียางขาว ใบรูปวงรีหรือรูปใบหอก

การขยายพันธุ์ของระย่อมน้อย

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ระย่อมน้อยต้องการ

ประโยชน์ของระย่อมน้อย

  • นำมาปลูกเป็นแปลง เป็นไม้ประดับได้
  • รากระย่อม ปรุงเป็นยารับประทานทำให้ง่วงนอน และอยากอาหาร

สรรพคุณทางยาของระย่อมน้อย

ส่วนที่ใช้ : รากสด รากแห้ง น้ำจากใบ ดอก เปลือก

สรรพคุณ :

  • รากสด – เป็นยารักษาหิด
  • รากแห้ง – เป็นยาลดความดันโลหิตสูง เป็นยากล่อมประสาท ทำให้ง่วงนอน และอยากอาหาร
  • ดอก – แก้โรคตาแดง
  • น้ำจากใบ – ใช้รักษาโรคแก้ตามัว
  • เปลือก – แก้ไข้พิษ
  • กระพี้ – บำรุงโลหิต

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

เป็นยารักษาหิด
ใช้รากสด 2-3 ราก นำมาตำให้ละเอียด เติมน้ำมันพืชพอแฉะๆ ใช้ทาบริเวณที่เป็นหิดวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย

เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
ใช้รากแห้ง 200 มิลลิกรัมต่อวัน รับประทาน 1-3 อาทิตย์ติดต่อกัน โดยป่นเป็นผงคลุกกับน้ำผึ้ง รับประทานเป็นยาเม็ด

ข้อควรระวัง
การรับประทานต้องสังเกต และระมัดระวังเป็นพิเศษ ถ้ามีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ใจสั่น หรือมีอาการผิดปกติ ให้หยุดยาทันที โดยเฉพาะระย่อม

ดอกระย่อมน้อย
ดอกระย่อมน้อย ดอกออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีขาวแกมเขียว เมื่อกลีบดอกโรยจะเปลี่ยนเป็นสีแดง

คุณค่าทางโภชนาการของระย่อมน้อย

การแปรรูปของระย่อมน้อย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11625&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment