เครือซูด กลีบดอกสีขาว ดอกบานพร้อมกันทั้งช่อ มีกลิ่นหอม

เครือซูด

ชื่ออื่นๆ :  เครือซูด (สระบุรี – อุบลราชธานี) เครือเขาหมวก, เครือเขาหมวกขาว, ตั่งตู้เครือ(เหนือ)  ช้างงาเดียว (ประจวบคีรีขันธ์)  ตังติด (จันทบุรี) วันจรูก (เขมร-จันทบุรี) วอร์กั้นจรูก (เขมร) มวก-ส้มลม (ปราจีนบุรี) ส้มเย็น (สตูล)  สร้อยสุมาลี-ช่อมาลี (กลาง) กุมาริกา

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : เครือซูด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parameria laevigata (Juss.) Moldenke

ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

ลักษณะของเครือซูด

ต้น  ไม้เลื้อยเนื้อแข็ง กิ่งก้านเลื้อยได้ไกล 3 เมตร

ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปรี กว้าง 3 – 5 เซนติเมตร ยาว 6 – 8 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบบิดเป็นคลื่น แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันหนา

ดอก ออกเป็นช่อแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อย 60 – 80 ดอกดอกเป็นหลอด กลีบดอกสีขาว โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบเรียงเวียนซ้อนเหลื่อมกัน เมื่อบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร ดอกบานพร้อมกันทั้งช่อ มีกลิ่นหอม ออกดอกเดือนตุลาคม ธันวาคม

ผล ผลเป็นฝักคู่ ฝักคอดเป็นระยะ เมื่อแก่แตกตามตะเข็บด้านเดียว มี 4 – 10 เมล็ด ที่ปลายเมล็ดมีขนสีขาว

ต้นเครือซูด
ต้นเครือซูด ไม้เลื้อยเนื้อแข็ง แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันหนา

การขยายพันธุ์ของเครือซูด

เพาะเมล็ด, ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่เครือซูดต้องการ

ประโยชน์ของเครือซูด

ราก ใช้ฆ่าแมลงผสมรากมะเฟืองเปรี้ยว รากตะโกนา และรากตีนนก  ชาวบ้านนำมาทำหัตถกรรมพื้นบ้าน ปรเภทแจกันที่ประกอบด้วยไม้ไผ่ ไม้ปอ

สรรพคุณทางยาของเครือซูด

  • เถา แก้ท้องร่วง แก้ลงแดง บำรุงโลหิต แก้ปวดข้อ รักษาแผลสด ช่วยให้คลอดบุตรง่าย
  • เปลือก แก้ไข้มาลาเรียใช้ปรุงเป็นยารักษาบาดแผลภายใน โดยเฉพาะหญิงหลังการคลอดบุตร โรคทางเดินอาหารและวัณโรค
  • เนื้อไม้ แก้ไข้เซื่องซึม แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ช่วยให้คลอดบุตรง่าย แก้ท้องร่วง แก้ลงแดง บำรุงโลหิต แก้ปวดข้อ รักษาแผลสด
ดอกเครือซูด
ดอกเครือซูด ดอกดอกเป็นหลอด กลีบดอกสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของเครือซูด

การแปรรูปของเครือซูด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12113&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment