เครืออีโกย ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสดมีรสหวานอมเปรี้ยว

เครืออีโกย

ชื่ออื่นๆ : กุ่ย (อุบลราชธานี) เครืออีโกย (นครราชสีมา) เถาเปรี้ยว (กรุงเทพมหานคร) เถาวัลย์ขน (ราชบุรี) ส้มกุ่ย (สระบุรี) ส้มออบ (นครศรีธรรมราช)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ส้มกุ้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ampelocissus martinii Planch.

ชื่อวงศ์ : VITACEAE (VITIDACEAE)

ลักษณะของเครืออีโกย

ไม้เลื้อยล้มลุก หลายฤดู ลำต้น ไม่มีเนื้อไม้ ใบ เดี่ยวรูปหัวใจเว้าลึกเป็น 5 พู ผิว ใบอ่อนมีขน เป็นเส้นใยแมงมุมปกคลุม มีขนอ่อนสีชมพูที่มีต่อมแซม (glandularhair )ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอก ออกเป็นช่อแบบพานิเคิล (panicle) ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีชมพูอ่อน กลีบดอก 4 กลีบ ผลสด รูปทรงกลม เป็นพวงแน่น เมื่อสุกสีแดงคล้ำ เมล็ดมี 1 – 2 เมล็ด

ส้มกุ้ง
เครืออีโกย ไม้เลื้อย ใบรูปหัวใจเว้าลึก ใบอ่อนมีขน

การขยายพันธุ์ของเครืออีโกย

เมล็ดหรือแตกยอดใหม่จากเหง้าใต้ดิน  นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย พบทั่วไปตามป่าเบญจพรรณในที่ร่มชื้น เถาจะงอกในช่วงฤดูฝน

ธาตุอาหารหลักที่เครืออีโกยต้องการ

ประโยชน์ของเครืออีโกย

ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสดมีรสหวานอมเปรี้ยว ผลอ่อนต้มตำน้ำพริก หรือใส่ส้มตำ เพราะมีรสเปรี้ยว ถ้ารับประทานดอกมากจะทำให้ระคายคอ ชาวบ้านจะจิ้มเกลือก่อน รับประทานจะลดอาการระคายคอหรือนำผลสุกมาตำใส่ส้มตำ

ผลส้มกุ้ง
ผลเครืออีโกย ทรงกลม เป็นพวงแน่น เมื่อสุกสีแดงคล้ำ

สรรพคุณทางยาของเครืออีโกย

ราก  ฝนน้ำดื่ม แก้ไข้ ผสมลำต้นหรือราก รสสุคนธ์ เหง้าสับปะรด ลำต้นไผ่ป่า ลำต้นไผ่ตง งวงตาล เปลือกต้นสะแกแสง ลำต้นหรือรากเถาคันขาว ผลมะพร้าว ลำต้นรักดำ ลำต้นก้อม ลำต้นโพ หญ้างวงช้างทั้งต้น รากกะตังใบ เปลือกต้นมะม่วง ลำต้นหนามพรมรากลำเจียก ลำต้นอ้อยแดง ลำต้นเครือพลูช้าง เหง้ายาหัว และเปลือกต้นกัดลิ้น ต้มน้ำดื่ม แก้ฝี รักษาอาการบวม

คุณค่าทางโภชนาการของเครืออีโกย

การแปรรูปของเครืออีโกย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10072&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment