เครือเขามวกขาว ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวข้น

เครือเขามวกขาว

ชื่ออื่นๆ : ตังติด (จันทบุรี) มวก, ส้มลม (ปราจีนบุรี) วอร์กั้นจรู้ก (เขมร–ปราจีนบุรี) วันจรูก (เขมร–จันทบุรี) เครือเขามวก, ตั่งตู้เครือ (เหนือ) ส้มเย็น (สะตูล)

ต้นกำเนิด : พบเลื้อยพันตามพื้น ป่าหรือพันตามลำ ต้นไม้ในป่าดิบทั่วไปและริมห้วยในป่าเบญจพรรณ

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parameria laevigata (Juss.) Moldenke

ชื่อพ้อง : Parameria barbata (Blume) K. Schum., P. barbata var. pierrei (Heim ex Spire) Kerr, P. glandulifera (Wall. ex G. Don.), P. glandulifera var. pierrei (Heim ex Spire), Aegiphila laevigata Juss., Parsonsia barbata Blume, Ecdysanthera barbata (Blume) Miq., E. glandulifera (Wall. ex G. Don) A. DC., E. glandulifera var. pierrei Heim ex Spire, Echites glandulifera Wall. ex G. Don

ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

ลักษณะของเครือเขามวกขาว

ต้น เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ผลัดใบช่วงสั้น ๆ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนเกลี้ยงสีน้ำ ตาลแดง เปลือก เรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดขนาดเล็ก สีเทาดำ เปลือกในสีขาว ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวข้น

ใบ  ใบเดี่ยว รูปรี ปลายแหลม โคนมนหรือเว้า ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบหนากรอบเกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน ด้านบนสีเข้มกว่าด้าน ล่าง ก้านใบสั้นมาก เรียงตรงข้าม ยอดอ่อนสีน้ำ ตาลแดง ใบแก่ก่อนร่วงสีเหลือง

ดอก  ช่อดอกยาวออก ปลายกิ่งหรือที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกรูปดอกเข็มสีขาวถึงชมพู

ผล  ฝักรูปงาช้างยาวมากออกเป็นคู่ ๆ ผิวเกลี้ยง เมื่อแก่แตกตามตะเข็บเป็นสองซีก เมล็ดรูปรีขนาดเล็กสีชมพู มีพู่ขน

เครือเขามวกขาว
เครือเขามวกขาว ไม้เถาเนื้อแข็ง ดอกรูปดอกเข็มสีขาวถึงชมพู

การขยายพันธุ์ของเครือเขามวกขาว

การเพาะเมล็ด, การปักชำ, การตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่เครือเขามวกขาวต้องการ

ประโยชน์ของเครือเขามวกขาว

  • ยอดและใบอ่อนรสเปรี้ยวหรือมันกินเป็นผักสด
  • ใบเป็นอาหารของกระทิงและกวางป่า (อาหารสัตว์)

สรรพคุณของเครือเขามวกขาว

เปลือกใช้ปรุงเป็นยารักษาบาดแผลภายใน โดยเฉพาะหญิงหลังการคลอดบุตร โรคทางเดินอาหารและวัณโรค

คุณค่าทางโภชนาการของเครือเขามวกขาว

การแปรรูปเครือเขามวกขาว

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.youtube.com

One Comment

Add a Comment