เดือย พืชล้มลุกจำพวกหญ้า มีอายุเพียงปีเดียว

เดือย

ชื่ออื่นๆ : เดือยหิน, เบอะมือที (กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เป้นี (กะเหรี่ยง) มะเดือย, ลูกเดือย, สะกูย (เขมร)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Adlay, Adlay millet, Job’s tears

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coix lachryma-jobi L.

ชื่อวงศ์ : GRAMINEAE

ลักษณะของเดือยหิน

ต้น เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า มีอายุเพียงปีเดียว จัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับข้าวหรือหญ้า มีลำต้นทรงกลม และตั้งตรง ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน สูงประมาณ 1 – 3.5 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้อง มีใบแตกออกบริเวณข้อ ผิวลำต้นเรียบเป็นสีเขียวอมเทา และมีนวลขาวปกคลุม เมื่อลำต้นเริ่มตั้งต้นได้หรือมีอายุตั้งแต่ 2 เดือน แล้ว ก็จะจะแตกลำต้นหรือเหง้าเพิ่มเป็น 4 – 5 ลำต้น

ใบ เป็นแผ่นเรียวยาว สีเขียวสด แผ่นใบด้านล่างมีสีจางกว่า ประกอบด้วยกาบใบที่หุ้มลำต้น ถัดมาเป็นโคนใบที่เป็นหยัก และต่อมาเป็นแผ่นใบ ขนาดประมาณ 2.5 – 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20 – 45 เซนติเมตร ปลายใบแหลม แผ่นใบมีเส้นกลางใบชัดเจน ขอบใบเรียบ และมีความคม บาดมือได้ง่าย

ดอก ดอกลูกเดือยแทงออกเป็นช่อตรงปลายยอดของลำต้นคล้ายกับดอกของหญ้าทั่วไป มีช่อดอกยาว 3 – 8 เซนติเมตร ดอกแบ่งเพศกันอยู่คนละดอกแต่อยู่บนช่อดอกเดียวกัน จำนวนดอกต่อประมาณ 10 – 20 ดอก หรือมากกว่า แต่ดอกทั้ง 2 ชนิด มักบานไม่พร้อมกันจึงมักทำให้มีการผสมเกสรข้ามต้นกัน

ผล ผลของลูกเดือยจะเรียกว่า ผลปลอม เพราะมีเฉพาะเมล็ดที่อยู่ด้านใน ซึ่งจะประกอบด้วยเปลือกหุ้มเมล็ดสีน้ำตาล เปลือกหุ้มนี้ค่อนข้างบาง แต่แข็งติดกับเมล็ด ถัดมาด้านในสุดจะเป็นเมล็ดที่มีลักษณะรูปหัวใจ ซึ่งจะมีร่องเว้าตรงกลางของเมล็ด ขนาดกว้าง และยาวประมาณ 8 – 12 มิลลิเมตร

เดือยหิน
เดือยหิน ใบยาว เรียวแหลม เป็นรูปขอบขนาน สีเขียว

การขยายพันธุ์ของเดือยหิน

ใช้เมล็ด/การเพาะด้วยเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่เดือยหินต้องการ

ประโยชน์ของเดือยหิน

  • ช่วยบำรุงผิวและผมให้นุ่มชุ่มชื้น ไม่แห้งกร้าน ช่วยลดการเกิดตกกระบนใบหน้าและลำตัว
  • ช่วยบรรเทาอาการไข้ หรือตัวร้อน
  • ช่วยให้ระบบย่อยของกระเพาะอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ช่วยบำรุงอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายอย่างม้ามหรือปอด เป็นต้น
  • ช่วยยับยั้งและป้องกันการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ
  • ช่วยบำรุงสมองให้แข็งแรง ไม่ฝ่อ และมีความจำดี
  • ช่วยรักษาและป้องกันโรคเหน็บชา
  • ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง และช่วยรักษาโรคเรื้อรังต่างๆ

ข้อห้ามในการรับประทานลูกเดือย
– ผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำควรหลีกเลี่ยง
– ผู้ที่มีปัญหาในระบบอวัยวะเพศไม่ควรรับประทาน
– ผู้ที่มีอาการปัสสาวะบ่อยควรงดการรับประทาน

ผลเดือย
ผลเดือย เป็นรูปทรงไข่ เปลือกแข็ง ผิวเรียบเป็นมัน

สรรพคุณทางยาของเดือยหิน

  • ราก ใช้เป็นยาขับพยาธิในเด็ก บำรุงม้าม ฆ่าพยาธิ แก้ดีซ่าน แก้บวมน้ำ แก้ประจำเดือนผิดปกติ
  • เมล็ด ใช้เป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ มีน้ำคั่งในปอด แก้ข้ออักเสบ ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย และช่วยขับปัสสาวะ
เดือยแห้ง
เดือยแห้ง เมล็ดสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของเดือยหิน

การแปรรูปของเดือยหิน

นำมาแปรรูปรับประทานเป็นอาหารในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ ขนมหวาน, แป้งลูกเดือย หรือนำมาหมักเป็นไวน์หรือเบียร์ ฯลฯ ทั้งนี้ลูกเดือยยังนับเป็น 1 ใน 50 สุดยอดสมุนไพรจีนอีกด้วย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10760&SystemType=BEDO
www.skm.ssru.ac.th, http://rspg.svc.ac.th, www.flickr.com

One Comment

Add a Comment