เตยหอม พืชสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน

เตยหอม

ชื่ออื่นๆ : เตยหอม ปาแนะวองิง

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศอินเดีย รวมถึงทวีปอื่น เช่น แอฟริกา และออสเตรเลีย

ชื่อสามัญ : เตยหอม Pandanus Palm , Fragrant Pandan , Pandom wangi.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus amaryllifolius Roxb.

ชื่อวงศ์ : Pandanaceae

ลักษณะของเตยหอม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ : ต้นและราก, ใบสด

เตยหอม
เตยหอม ใบยาวรี ขอบใบเรียบ ใบแข็งเรียบเป็นมัน มีสีเขียว มีกลิ่นหอม

การขยายพันธุ์ของเตยหอม

ใช้กิ่ง/ลำต้น/ใช้ลำต้นที่ติดโคนรากปักชำในดินที่มีความชื้นสูง ประมาณ 1 สัปดาห์รากจะงอก นิยมปลูกไว้ใกล้บริเวณซักล้าง หรือโอ่งน้ำ

ธาตุอาหารหลักที่เตยหอมต้องการ

ประโยชน์ของเตยหอม

ใบ – ช่วยดับพิษไข้ และบำรุงหัวใจ ชูกำลัง ให้รสหวานเย็นหอม
ราก, ต้น – ช่วยขับปัสสาวะ แก้กระษัยไตพิการ รวมทั้งแก้ไข้ที่มีพิษร้อน แก้พิษตานซาง และแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ

ซึ่งใบเตยหอมนั้นเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยทุกคนต่างรู้จักกันเป็นอย่างดีมาแต่โบราณเลยทีเดียว เพราะมีการนำมาใช้ประโยชน์กันหลากหลาย โดยเฉพาะการนำมาปรุงแต่งอาหารในขนมไทยให้มีกลิ่นหอมชวนรับประทานอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ หรือจะนำไปทำเป็นวุ้นหรือเค้ก ก็ทั้งอร่อย หอม แถมยังมีสีสันน่ารับประทานอีกด้วย

สรรพคุณทางยาของเตยหอม

ต้นและราก
– ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย

ใบสด
– ตำพอกโรคผิวหนัง
– รักษาโรคหืด
– น้ำใบเตย ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น
– ใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแต่งสีขนม
– ใช้ผสมกับชาสมุนไพรเพื่อช่วยต้านฤทธิ์ยา
– ใช้ดับกลิ่นภายในบ้าน ที่อับชื้น หรือรถยนต์

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ต้มกับน้ำดื่ม
ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง
ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน ใช้ราก 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เข้าเย็น

สารเคมี : สารกลุ่ม anthocyanin

คุณค่าทางโภชนาการของเตยหอม

การแปรรูปของเตยหอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11421&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment