เถาวัลย์ปูน เป็นไม้เถามีมือเกาะคล้ายกับเถาตำลึง เถา ใบ มีสรรพคุณทางยา

เถาวัลย์ปูน

ชื่ออื่นๆ : น้ำเครือเขา, ส้มเฮียก (เหนือ) เครื่อจุ้มจ้า (เชียงราย) เถาพันซ้าย (อุตรดิตถ์) เครือเขาน้ำ, เคือคันเขาขันขา, ส้มละออม (พายัพ)

ต้นกำเนิด : อนุทวีปอินเดียไปจนถึงจีนกลางตอนใต้และอินโดจีน

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cissus repanda Vahl.

ชื่อวงศ์ : VITACEAE

ลักษณะของเถาวัลย์ปูน

ต้น  เป็นพรรณไม้เถา มีขนาดเล็ก ชอบเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น ๆ และมีมือเกาะคล้ายกับเถา ตำลึง เถานั้นจะมีละอองเป็นสีขาว เกาะจับกันอย่างหนาแน่น จนมองดูเป็นสีนวล

เถาวัลย์ปูน
เถาวัลย์ปูน ไม้เถา ชอบเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น

ใบ  จะมีขนาดโตเท่าฝ่ามือ ส่วนตรงกลางใบและริมทั้งสองข้างจะแหลมเป็นสามยอด ตรงกลางจะสูงและมีเว้าตรงข้าง

ใบเถาวัลย์ปูน
ใบเถาวัลย์ปูน ขนาดเท่าฝ่ามือ เป็นรูปหัวใจ

ดอก  จะมีลักษณะคล้ายกับดอกเถาคัน ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่ม ออกเป็นช่อใหญ่สีแดง และดอกนั้นจะออกเป็นช่อใหญ่แบนและแน่น ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก ตั้งอยู่บนก้านดอกย่อย แต่ละช่อจะมีประมาณ 10-40 ดอก ลักษณะของดอกคล้ายดอกกะตังบาย หรือฝิ่นต้น

ดอกเถาวัลย์ปูน
ดอกเถาวัลย์ปูน ช่อใหญ่สีแดง ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก

ผล  ลักษณะกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร หรือมีขนาดเท่าผลมะแว้งหรือขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ผลดิบนั้นเป็นสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีดำ

ผลเถาวัลย์ปูน
ผลเถาวัลย์ปูน ผลกลม ผิวเรียบเป็นมัน

การขยายพันธุ์ของเถาวัลย์ปูน

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่เถาวัลย์ปูนต้องการ

ประโยชน์ของเถาวัลย์ปูน

นำมาเลี้ยงเป็นไม้โขด

สรรพคุณทางยาของเถาวัลย์ปูน

  • เถา ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้เส้นตึง แก้กระษัย รักษาแผลสด
  • ใบ ตำเอาน้ำทาแผลห้ามเลือด รักษาแผลสด

คุณค่าทางโภชนาการของเถาวัลย์ปูน

การแปรรูปของเถาวัลย์ปูน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11572&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment