เถาวัลย์เขียว ไม้เถาใบมีสีเขียวเข้ม

เถาวัลย์เขียว

ชื่ออื่นๆ : เถาวัลย์เขียว (กลาง) จ้อยนาง (เชียงใหม่) ยาดนาง (สุราษฎร์ธานี)

ต้นกำเนิด : ตอนกลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : เถาย่านาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tiliacora triandra (Colebr.)Diels

ชื่อวงศ์ : MENISPERMACEAE

ลักษณะของเถาวัลย์เขียว

ไม้เถา เลื้อยพัน ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ (ovate-oblong) หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ (ovate-lanceolate) กว้าง 2.8 – 3.5 เซนติเมตร ยาว 9.1 – 10.8 เซนติเมตร ก้านใบยาว 1.1-1.7 เซนติเมตร หน้าใบและหลังใบมีขนสั้น จำนวนเล็กน้อย จะมองเห็นได้ชัดเจนเมื่อใช้แว่นขยาย แผ่นใบมีสีเขียวเข้ม ออกดอกตามซอกใบแยกเพศคนละต้น ไม่มีกลีบดอก ต้นเพศผู้จะมีดอกสีน้ำตาล อับเรณูสีเหลืองอ่อน ดอกย่อยของต้นเพศผู้จะมีขนาดเล็ก ก้านช่อดอกมีขนสั้น ๆ ละเอียดปกคลุมหนาแน่น ผลเป็นผลกลุ่ม เมื่อแก่จะมีสีแดงอมส้ม ออกดอกช่วงเดือนเมษายน

ย่านาง
ไม้เถา ใบเดี่ยวปลาบเรียวแหลม สีเขียวเข้ม

การขยายพันธุ์ของเถาวัลย์เขียว

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/เดิมนั้นเถาย่านางมักขึ้นอยู่เองตามป่า แต่อยากปลุกก็ไม่ยากเพียงแค่เพราะเมล็ดหรือขุดเอารากที่เป็นหัวไปปลูกในที่ใหม่ รดน้ำให้ฉ่ำชุ่ม สักพักเถาย่านางก็จะคลี่กางเลื้อยขึ้นพันค้างที่เตรียมไว้ หรือหากไม่มีค้างก็มักเลื้อยพันต้นไม้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งก็ไม่ถือเป็นเรื่องลำบากยากเย็นสำหรับเถาย่านาง เพราะเดิมนั้นเถาย่านางเป็นไม้ป่าจึงไม่กลัวความลำบากลำบน อดทนเป็นเยี่ยมและเติบโตได้ในทุกสภาพดินและสภาพอากาศทุกฤดูกาล หากอยากได้บรรยากาศเมืองร้อนแลป่าฝนก็ปลูกชมใบสีเขียวก็ดี

ธาตุอาหารหลักที่เถาวัลย์เขียวต้องการ

ประโยชน์ของเถาวัลย์เขียว

นอกจากจะเป็นอาหารและเครื่องปรุงรส ใบย่านางและน้ำคั้นจากใบยังมีสารอาหารอย่างแคลเซียมและวิตามินซีค่อนข้างสูง อีกทั้งยังมีวิตามินอื่น ๆ ร่วมขบวนด้วย เช่น เอ บี 1 บี 2 และเบต้า-แคโรทีน คนโบราณเชื่อกันว่ารากของเถาย่านางนั้นสามารถแก้ไขได้ อีกทั้งยังช่วยถอนพิษผิดสำแดงและพิษอื่น ๆ แก้เมาเรือ แก้เมาสุรา แก้โรคหัวใจและแก้ลม ใบก็ช่วยถอนพิษและแก้ไข้ ส่วนของเถาใช้แก้ตานขโมย

แถมวิธีใช้เถาย่านางเพื่อลดไข้ ใช้ดังนี้ใช้รากแห้งประมาณ 15 กรัม ต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง หรือต้มกับสมุนไพรอีก 4 ชนิด ตามการแนะนำของสถาบันการแพทย์แผนไทย คือรากเท้ายายม่อม รากมะเดื่ออุทุมพร รากคนทา รากชิงขี่ จะให้ผลในการลดไข้ได้ดียิ่งขึ้น

ใบย่านาง
ใบสีเขียวเข้ม ผิวใบมัน

สรรพคุณทางยาของเถาวัลย์เขียว

  • มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก จึงช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วและความแก่ชราอย่างได้ผล
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคในร่างกาย
  • ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
  • ช่วยฟื้นฟูเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
  • ช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย

คุณค่าทางโภชนาการของเถาวัลย์เขียว

การแปรรูปของเถาวัลย์เขียว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9525&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment