เล็บมือนาง ไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง ปลูกเป็นไม้ประดับซุ้ม

เล็บมือนาง

ชื่ออื่นๆ : จะมั่ง (เหนือ) จ๊ามั่ง (เหนือ) ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) มะจีมั่ง (เหนือ) อะดอนิ่ง (มลายู ยะลา)

ต้นกำเนิด : ทวีปเอเชียเขตร้อน

ชื่อสามัญ : เล็บมือนาง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Quisqualis indica Linn.

ชื่อวงศ์ : Combretaceae

ลักษณะของเล็บมือนาง

ต้น เล็บมือนางเป็นพืชไม้เลื้อย เถาแก่เป็นไม้เนื้อแข็ง

ใบ ใบเดี่ยวรูปวีหรือรูปไข่ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ

ดอก ดอกมีลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 4 นิ้ว ตรงปลายดอกจะแยกออกเป็น 5 กลีบ ดอกมีสีแดงอมขาว หรือสีชมพู หลอดของดอกจะโค้งเล็กน้อย และจะมีเกสรยาว ๆ ยื่นออกมาจากกลางดอก 5 อัน เป็นช่อสีขาว แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีขมพู มีกลิ่นหอม

ผล ผลสีน้ำตาลแดงเป็นมัน มี 5 พู

ดอกเล็บมือนาง
ดอกเป็นช่อตามซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกมีสีขาวหรือสีชมพูอ่อน

การขยายพันธุ์ของเล็บมือนาง

การใช้รากหรือเหง้า ที่ต้นอ่อนเกิดขึ้น แยกเอามาชำในที่ชุ่มชื้น

เล็บมือนางเป็นพืชที่ชอบดินร่วนปนทรายและมีความอุดมสมบูรณ์พอควร แสงแดดปานกลาง น้ำปานกลาง ปลูกได้ทุกฤดูกาล

ธาตุอาหารหลักที่เล็บมือนางต้องการ

ประโยชน์ของเล็บมือนาง

นำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับซุ้ม ปลูกเป็นซุ้มตามประตู ตามรั้ว หรือขึ้นร้านเป็นหลังคาที่นั่งผักผ่อน หรือปลูกตามริมถนน หรือริมทางเดิน เป็นไม้โตเร็ว ปลูกง่าย มีดอกสวยงาม ให้กลิ่นหอมเย็น

สรรพคุณทางยาของเล็บมือนาง

  • ทั้งต้น เป็นยาแก้ไอ
  •  ราก , ผล และเมล็ด เป็นยาขับพยาธิ – ใบ ตำพอก แก้ปวดศีรษะ แก้ท้องอืดเฟ้อ เป็นยาสมาน
  • เมล็ด เป็นยาถ่าย แก้ไข้ แก้ตกขาว อาการวิงเวียนศีราะ แช่ในน้ำมัน รักษาโรคผิวหนังแผลฝี น้ำต้มเมล็ดแก้อหิวาตกโรค และใช้รักษาโรคเอดส์
  • รากต้มน้ำกินเป็นยาถ่ายพยาธิ – ใบเอามาตำเป็นยารักษาแผลหรือฝี

คุณค่าทางโภชนาการของเล็บมือนาง

การแปรรูปของเล็บมือนาง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11054&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment