เล็บรอก ใบมีกลิ่นคล้ายการบูร และตะไคร้

เล็บรอก

ชื่ออื่นๆ : เล็กลอก, เครืองูเห่า, ผักแปมป่า (เหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Wild Orange-Tree, Lopea Tree, Forest-Pepper

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Toddalia asiatica (Linn.) Lamk., T. asuleata Pers.

ชื่อวงศ์ : RUTACEAE

ลักษณะของเล็บรอก

เป็นไม้เถาขนาดใหญ่กิ่งก้านเล็กเรียว เถาแก่มีปุ่มของนมหนามติดอยู่ทั่วไป ผิวสีน้ำตาลมีกระสีขาวเนื้อสีเหลือง เถาอ่อนมีหนามแหลมงุ้ม ใบประกอบแบบนิ้วมือ 3 ใบ ใบย่อยรูปไข่ปลายสอบ มีจุดน้ำมันกระจายทั่วใบ ยาว 5-10 ซม. มีกลิ่นคล้ายการบูร และตะไคร้ ดอกสีเหลืองแกมเขียวเป็นช่อที่ปลายกิ่งและง่ามใบ ผลกลมฉ่ำน้ำ เมื่อสุกสีส้ม มีกลิ่นคล้ายพริกไทย ใช้แต่งกลิ่นอาหาร เกิดตามป่าในเขตร้อนทั่วไป

เล็บลอก
เล็บรอก ไม้เถาขนาดใหญ่ ใบประกอบแบบนิ้วมือ 3 ใบ ใบย่อยรูปไข่ปลายสอบ

การขยายพันธุ์ของเล็บรอก

ใช้เมล็ด/ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่เล็บรอกต้องการ

ประโยชน์ของเล็บรอก

ยอดอ่อนและใบอ่อนมีกลิ่นหอม ช่วยดับกลิ่นคาวได้ดี  นำมากินเป็นผักสดกับลาบหรือน้ำพริก

สรรพคุณทางสมุนไพร
ใบสด รสสุขุมหอม แก้ปวดท้อง ใช้เป็นอาหารยา ตำพอกหรือทาแก้โรคผิวหนัง เปลือกราก (Lopez Root, Cortex Radicis) รสสุขุมหอม ขับเหงื่อ บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ท้องเสีย รักษามาลาเรียชนิดจับเว้นระยะ

ดอกเล็บรอก
ดอกเล็บรอก ดอกสีเหลืองแกมเขียว

สรรพคุณทางยาของเล็บรอก

  • เถา รสสุขุม ต้มดื่ม แก้ปวดเมื่อยเส้นเอ็น ขับปัสสาวะ แก้พิษโลหิต แก้พิษในข้อ ในกระดูก ในเส้นเอ็น แก้ไอ แก้พิษตานซาง ตานขโมย ขับพยาธิไส้เดือน แก้กามโรค แก้ปอดพิการ
  • ราก รสสุขุมหอม ชงน้ำดื่มขับลม บำรุงกำลัง แก้เถาดานในท้อง แก้ปวดเสียดแทง แก้ริดสีดวงลำไส้ ตำพอกฝี
  • ต้นมาตากแห้ง และต้มชงน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

คุณค่าทางโภชนาการของเล็บรอก

การแปรรูปของเล็บรอก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11220&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment