เสลาขาว ไม้ต้นผลัดใบ ดอกสีขาวหรือสีฟ้าอ่อน

เสลาขาว

ชื่ออื่นๆ : เสลา (สระบุรี ราชบุรี) จะวอ (กะเหรี่ยง) จูดอ, ชวง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ฉ่วงฟ้า (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เบาะโยง เบาะสะแอน เบาะเส้า (เชียงราย) เปื๋อยขาว (ภาคเหนือ) เส้า เส้าขาว เส้าเบาะ (เชียงใหม่) เสลาขาว (ราชบุรี) เสลาเปลือกบาง (กำแพงเพชร)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia tomentosa C.Presl

ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE

ลักษณะของเสลาขาว

ต้น  ไม้ต้นผลัดใบ ขนาดใหญ่ สูงถึง 35 เมตร  เปลือกสีน้ำตาลเทาเข้ม

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปหอก ยาว 10-18 เซนติเมตร กว้าง 4-6 เซนติเมตร ปลายแหลมถึงเรียวแหลม ฐานมน กลม ขอบเรียบ ใบอ่อนมีขนรูปดาว

ดอก  ดอกแบบช่อกระจะ กลีบเลี้ยง 5-6 กลีบ กลีบดอก 5-6 กลีบ สีขาวหรือฟ้าอ่อน รังไข่มีขน เกสรเพศผู้ 6-7 อัน เกสรเพศเมีย อยู่เหนือวงกลีบ

ผล  ผลแก่แล้วแตก กลมหรือรูปไข่ สีน้ำตาลเข้ม เมื่อแก่มีขนเฉพาะบริเวณปลายผล ออกดอกเดือน มี.ค.-มิ.ย.

เสลาขาว
เสลาขาว ดอกสีขาว ใบรูปหอก ปลายแหลมเรียว

การขยายพันธุ์ของเสลาขาว

ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด/ตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่เสลาขาวต้องการ

ประโยชน์ของเสลาขาว

ปลูกประดับบ้าน เนื้อไม้ทำเครื่องแกะสลัก ด้ามเครื่องมือ ทำพื้น รอด ตง คาน ได้ดี

สรรพคุณทางยาของเสลาขาว

เปลือกลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้บิด มูกเลือด แก้ท้องเสีย ใช้สมานแผล

คุณค่าทางโภชนาการของเสลาขาว

การแปรรูปของเสลาขาว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11860&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment