เหงือกปลาหมอ เหงือกปลาหมอน้ำเงิน

เหงือกปลาหมอ

ชื่ออื่นๆ : แก้มหมอ, แก้มหมอเล (กระบี่) นางเกร็ง, จะเกร็ง, อีเกร็ง (กลาง) เหงือกปลาหมอ, เหงือกปลาหมอน้ำเงิน (ทั่วไป)

ต้นกำเนิด : ป่าชายเลนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : Sea Holly

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acanthus ebracteatus Vahl

ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE

ลักษณะของเหงือกปลาหมอ

ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 1-2 เมตร ลำต้นของพืชชนิดนี้จะมีลักษณะแข็ง มีหนามอยู่ตามข้อของลำต้น ถ้าเป็นต้นที่เจริญเติบโตตามธรรมชาติหรือไม่มีการตัดออกไป จะมีลักษณะของลำต้นตั้งตรงพุ่งสูงขึ้น แต่ถ้ามีการตัดออกนำไปใช้ประโยชน์บ้างก็จะแตกเป็นพุ่มออกมาใหม่

ใบ ใบจะมีลักษณะแข็ง มีหนามคมอยู่ริมขอบใบและปลายใบ ผิวใบเรียบมันเนื้อใบเหนียวแข็ง

ดอก ออกที่ปลายกิ่ง มีลักษณะของดอกเป็นดอกช่อตั้งตรง มีสีม่วง สีฟ้า หรือสีขาว มีกลีบรองดอก 4 กลีบ บริเวณของกลางดอกนั้นจะมีเกสรของตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่

ผล เป็นฝักรูปไข่หรือทรงกระบอก

เหงือกปลาหมอ
เหงือกปลาหมอ ลำต้นและใบมีหนามแข็ง

การขยายพันธุ์ของเหงือกปลาหมอ

การใช้เมล็ด,ปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่เหงือกปลาหมอต้องการ

ประโยชน์ของเหงือกปลาหมอ

  • ใช้เมล็ดเป็นยาแก้ไอ โดยต้มเมล็ดกับดอกมะเฟืองหรือดอกตะลิงปลิง แล้วเติมเปลือกอบเชย และน้ำตาลกรวด จิบแก้ไอ
  • เมล็ดบดเป็นผงใช้พอกแก้ฝี หรือนำไปคั่วแล้วป่นละลายน้ำดื่มแก้ฝี
  • ฝักต้มรับประทานเป็นยาขับโลหิต และแก้ฝี รากต้มเป็นยาดื่มแก้โรคงูสวัด
ดอกเหงือกปลาหมอ
ดอกเหงือกปลาหมอ กลีบดอกสีขาวอมม่วง

สรรพคุณทางยาของเหงือกปลาหมอ

  • ราก : สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้หืด แก้อัมพาต บำรุงประสาท รักษามุตกิดระดูขาว
  • ต้น : รสเค็มกร่อย สรรพคุณแก้ปวดศีรษะ ช่วยถอนพิษ แก้ลมพิษ แก้พิษฝีดาษ ถ้าใช้ทาจะช่วยโรคเหน็บชาได้
  • ใบ : รสเค็มกร่อยร้อน สรรพคุณช่วยรักษาแผลอักเสบ แก้โรคผิวหนัง แก้ไข้ แก้ปวดต่างๆ รักษากลากเกลื้อน ใช้นำคั้นจากใบนำมาทาศีรษะ จะช่วยในการบำรุงรากผม
  • ผล : รสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยถอนพิษ ขับโลหิต
  • เมล็ด : รสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยขับน้ำเหลืองที่เสีย ขับพยาธิ ปิดพอกฝี

ใช้เหงือกปลาหมอทั้ง 5 (ราก,ต้น,ใบ,ผล,เมล็ด) มีสรรพคุณช่วยแก้พิษฝี แก้มะเร็ง ช่วยในการเจริญอาหาร ช่วยให้เลือดลมปกติ

คุณค่าทางโภชนาการของเหงือกปลาหมอ

การแปรรูปของเหงือกปลาหมอ

นำมาแปรรูปเป็นแชมพู สบู่และยาชนิดแคปซูล

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9663&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_02_7.htm
https://www.flickr.com

3 Comments

Add a Comment