เห็ดหูหนู ดอกเห็ดคล้ายแผ่นวุ้น สีน้ำตาลแดง

เห็ดหูหนู

ชื่ออื่นๆ : เห็ดหูหนูดำ , เห็ดหูแมว , เห็ดหูหนูบาง , เห็ดหูหนูหนา ,  เห็ดหูหนูจีน (ทั่วไป) , เห็ดหู , เห็ดหูล๊วะ (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด : ประเทศจีน

ชื่อสามัญ :  Jelly ear fungus , Ear fungus ,  Wood ear, Jew’s ear

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Auricularia auricula-judae

ชื่อวงศ์ : AURICULARIACEAE

ลักษณะของเห็ดหูหนู

ดอกเห็ดคล้ายแผ่นวุ้น เจริญออกมาจากขอนไม้หรือเปลือกไม้ที่ตายแล้ว สีน้ำตาลแดง รูปพัดไม่มีด้าม กว้าง 2-6 เซนติเมตร หนา 1-2 มิลลิเมตร ผิวด้านบนเรียบและหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวด้านล่างสีอ่อนกว่า มีขนสั้นละเอียด และมีรอยจีบย่นหยักเป็นแผ่นรัศมีออกไปจากโคนที่ยึดติดกับขอนไม้เมื่อตัดเนื้อเห็ดตามขวางจะปรากฏมี 6 แถบ สปอร์ รูปไส้กรอก ใส ไม่มีสี ขนาด 5-6 x 13-15 ไมโครเมตร ผิวเรียบ ก้านสปอร์รูปทรงกระบอก 

เห็ดหูหนู
เห็ดหูหนู ผิวด้านบนเรียบและหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย

การขยายพันธุ์ของเห็ดหูหนู

การเพาะ

ในประเทศไทยนั้นเห็ดหูหนูที่นิยมเพาะสามารถจำแนกได้เป็

  • เห็ดหูหนูพันธ์บาง เป็นเห็ดที่มีดอกบาง มีสีน้ำตาลอ่อน ลักษณะดอกจะเป็นแบบไม่มีขนและดอกเรียบ สามารถขึ้นได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
  • เห็ดหูหนูพันธ์หนา เป็นเห็ดที่มีดอกหนากว่าชนิดที่แรก ลักษณะดอกด้านบนจะมีผิวเรียบ ด้านล่างจะมีขนละเอียด
  • เห็ดหูหนูเผือก ลักษณะดอกจะเป็นสีขาว เมื่อนำมาปรุงเป็นอาหารจะมีรสชาติอร่อย

ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อกhttps://unsplash.com/ารเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู
1. อุณหภูมิที่เห็ดหูหนูชอบคืออยู่ระหว่าง 28-30 องศาเซลเซียส
2. ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะกับการเพาะเห็ดหูหนูคือ 85%
3. แสงแดดจะต้องเป็นแบบสาดกระจาย เพราะว่าแสงจะเป็นตัวช่วยให้เห็ดแข็งแรง สีเข็ม และโตเร็ว
4. สภาพความเป็น กรด-ด่างที่เหมาะกับเห็ดหูหนูคือ PH 4.5-7.5

ธาตุอาหารหลักที่เห็ดหูหนูต้องการ

ประโยชน์ของเห็ดหูหนู

ทางภาคเหนือนิยมนำเห็ดหูหนูมาประกอบอาหาร เช่น นำมาแกงใส่ถั่วฝักยาว ผักชะอม หรือใส่แกงแค  ส่วนทางภาคกลางหรือทั่วๆไป นำมาทำยำวุ้นเส้น ใส่ในแกงจืด ยำเห็ดหูหนู ผัดเนื้อไก่ใสขิงใส่เห็ดหูหนู แกงจืดเห็ดหูหนู เป็นต้น

ผัดเห็ดหูหนู
 ผัดเห็ดหูหนูใส่ไข่

สรรพคุณทางยาของเห็ดหูหนู

ชะลอความเสื่อมของเซลล์ เสริมภูมิคุ้มกัน ทำให้การไหลเวียนเลือดของหัวใจดีขึ้น (ลดอาการหลอดเลือดหัวใจขาด ตีบ) มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ลดอาการแทรกซ้อน ภายหลังการฉายแสงรักษาโรคมะเร็ง

สรรพคุณทางยาจีน เสริมบำรุงสารน้ำของปอด บำรุงไต ทำให้เกิดสารน้ำ หยุดไอ (ไอที่เกิดจากปอดแห้ง ไอแห้งๆ มีเลือดปน) บำรุงพลัง บำรุงหัวใจ บำรุงสมอง มีฤทธิ์สงบประสาท ช่วยให้นอนหลับ

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหูหนู

เห็ดหนูหนู 100 กรัม ประกอบด้วย พลังงาน 43 กิโลแคลอรี
โปรตีน 1.4 กรัม
ไขมัน 0.1 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 9.1 กรัม
แคลเซียม 60 มิลลิกรัม
เหล็ก 6.1 มิลลิกรัม
ไทอะซิน 0.04 มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน 0.71 มิลลิกรัม
ไนอะซิน 2.8 มิลลิกรัม
วิตามินซี 21 มิลลิกรัม
เส้นใยอาหาร 7 กรัม
กรดนิโคติน 2.7 มิลลิกรัม

การแปรรูปของเห็ดหูหนู

เห็ดหูหนูแห้ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11908&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
https://www.youtube.com

2 Comments

Add a Comment