เอี่ยนด่อน ไม้พุ่มขนาดเล็ก เตี้ย มีรากแก้วขนาดใหญ่เพียงรากเดียว

เอี่ยนด่อน

ชื่ออื่นๆ : เอี่ยนด่อน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ปลาไหลเผือกน้อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eurycoma harmandiana Pierre.

ชื่อวงศ์ : Simaroubaceae

ลักษณะของเอี่ยนด่อน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มขนาดเล็ก เตี้ย มีรากแก้วขนาดใหญ่เพียงรากเดียว สูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร ใบประกอบแบบขนนก ใบประกอบยาว 8-18 เซนติเมตร เรียงสลับ ใบย่อย 11-17 ใบ เรียงตรงข้ามรูปแถบ กว้าง 3-5 มิลลิเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ใบย่อยมี 2-5 คู่ ปลายใบแหลมสั้นๆ โคนใบเบี้ยว เส้นใบเห็นไม่ชัดเจน ปลายโค้งจรดกัน เส้นกลางใบนูนเล็กน้อยด้านบน นูนเด่นชัดด้านล่าง ใบไร้ก้าน ผิวใบเรียบเป็นมัน ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบขนานกับพื้นดิน ช่อดอกยาวได้ประมาณ 15 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม ไม่มีขนต่อม ดอกย่อยหลายดอก แยกเพศ สีแดงแกมม่วง กลีบดอกรูปขอบขนาน ยาว 3-3.5 มิลลิเมตร มีขนทั้งสองด้าน เกสรเพศผู้ 5 อัน ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร มีขนสั้นนุ่ม รังไข่ลดรูปในดอกเพศผู้ ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ยอดเกสรรูปโล่ ก้านดอกยาวได้ประมาณ 5 มิลลิเมตร ใบประดับรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ร่วงง่าย หลอดกลีบเลี้ยงสั้น กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม ยาว 1-1.5 มิลลิเมตร ผลสด มีประมาณ 5 ผลย่อย ทรงรี ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ก้านผลสั้นๆ เปลือกนอกบาง มีเขตการกระจายพันธุ์ในเฉพาะในลาวและกัมพูชา ในไทยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบขึ้นหนาแน่นในป่าเต็งรังโปร่งที่เป็นทุ่งหญ้า ระดับความสูงจนถึงประมาณ 300 เมตร

ปลาไหลเผือก
ปลาไหลเผือก ไม้พุ่มมีรากแก้วขนาดใหญ่เพียงรากเดียวปลายใบแหลมสั้น

การขยายพันธุ์ของเอี่ยนด่อน

ใช้เมล็ด/-

ธาตุอาหารหลักที่เอี่ยนด่อนต้องการ

ประโยชน์ของเอี่ยนด่อน

สรรพคุณทางยาของเอี่ยนด่อน

ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ แก้ปวด แก้ไข้มาลาเรีย ช่วยบำรุงกำลัง ฝนกับน้ำทา แก้ฝีหนอง ฝนน้ำกิน มีรสเบื่อมา ใช้เลิกเหล้า นำรากมาผสมกับพญายา และพริกป่า ต้มน้ำกินแก้ไข้
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ราก แก้ไข้ ไข้มาลาเรีย

คุณค่าทางโภชนาการของเอี่ยนด่อน

การแปรรูปของเอี่ยนด่อน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12221&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment