แก้วมือไว ยอดอ่อนและใบ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ

แก้วมือไว

ชื่ออื่นๆ :  กะเทว, กะแท้วแดง (เลย)  แก้วตาไว, แก้วมือไว (ภาคกลาง)  ขี้แร็ก (ราชบุรี)  เด่นแทว (ภาคตะวันออก) ; เขนแทว, ทับเพียว (นครราชสีมา)  หนามเล็บแมว, หนามเหียง (ตาก)

ต้นกำเนิด : พบขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่โล่ง ชายป่าละเมาะ ดินเหนียวปนลูกรัง ดินร่วน เช่น เขตพื้นที่บ้านป่าไผ่ ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

ชื่อสามัญ : flowered beggarweed

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterolobium integrum Craib.

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-CAECALPINOIDEAE

ลักษณะของแก้วมือไว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก อายุหลายปี แตกกิ่งก้านมาก ต้นตั้งสูง 63.75-100.97 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 7.37-11.05 มิลลิเมตร ลำต้นเหนียว สีเขียวอมน้ำตาล มีขนสีขาวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ปกคลุมหนาแน่น

ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (odd-pinnate) เรียงตรงข้ามกัน (opposite) ใบเป็นแบบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ (ovate-oblong) โคนใบกลม ปลายใบเว้าบุ๋ม (retuse) มีติ่ง ขนาดใบยาว 1.9-2.5 เซนติเมตร กว้าง 0.9-1.3 เซนติเมตร หน้าใบ หลังใบมีขนละเอียดสั้น ๆ สีขาวปกคลุมหนาแน่น ใบสีเขียว ผิวใบนุ่ม เส้นกลางใบ (mid rib) เล็กยาวจากโคนถึงปลายใบ เส้นใบ (vein) เรียงตัวแบบโค้งจรดกัน (anastomosing) เส้นใบด้านหลังมองด้วยตาเปล่าไม่ชัดเจน ขอบใบเรียบ (entire) หูใบ (stipule) แบบรูปเข็มแหลม (filiform) สีม่วงอมแดง ยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ก้านใบรวมยาว 4.22-5.92 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 1-2 มิลลิเมตร และมีขนคลุม

ดอก ออกดอกเดือน มิถุนายน-มีนาคม ช่อดอกขนาดเล็กออกที่ตาข้างแบบช่อกระจะ (raceme)มีจำนวนมาก ช่อดอกยาว 1.14-1.8 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยยาว 0.4-0.6 เซนติเมตรมี 8-26 ดอกต่อช่อ ก้านช่อดอกสั้นมาก ยาว 0.05-0.2 เซนติเมตร ดอกรูปดอกถั่ว กลีบกลาง (standard) สีเขียวอมแดง กลีบคู่ข้าง (wing) สีชมพูอมส้ม กลีบคู่ล่าง (keel) สีเขียว ฝักรูปทรงกระบอกกลม มี 10-21 ฝักต่อช่อ ฝักยาว 2.36-2.8 เซนติเมตร กว้าง 0.18-0.26 เซนติเมตร

ต้นแก้วมือไว
ต้นแก้วมือไว ไม้พุ่ม ใบประกอบแบบขนนก
ดอกแก้วมือไว
ดอกแก้วมือไว ดอกรูปถั่ว สีชมพูอมส้ม

การขยายพันธุ์ของแก้วมือไว

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่แก้วมือไวต้องการ

ประโยชน์ของแก้วมือไว

ส่วนยอดอ่อนและใบ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับแทะเล็มของโค-กระบือ

สรรพคุณทางยาของแก้วมือไว

คุณค่าทางโภชนาการของแก้วมือไว

คุณค่าทางอาหาร ส่วนใบรวมก้านใบ มีโปรตีน 28.68 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วน ADF 26.73เปอร์เซ็นต์ NDF 34.73 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 1.34 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.41 เปอร์เซ็นต์ โปแตสเซียม 2.20 เปอร์เซ็นต์ แทนนิน 0.49 เปอร์เซ็นต์ มิโมซีน 0.64 เปอร์เซ็นต์ ไม่พบไนเตรทและไนไตรท์ มีค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้ง (DMD) 74.85 เปอร์เซ็นต์ (โดยวิธี Nylon bag Technique)

การแปรรูปของแก้วมือไว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10547&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment