แคหางค่าง ดอกอ่อน ฝักอ่อน ใช้บริโภค

แคหางค่าง

ชื่ออื่นๆ : แคบิด, แคร้าว, แคลาว (ร้อยเอ็ด) แคพอง (สุราษฎร์ธานี) แคหัวหมู (นครราชสีมา) แคหางค่าง (ทั่วไป) แฮงป่า (จันทบุรี) แคขน (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : แคหางค่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fernandoa adenophylla Steenis

ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE

ลักษณะของแคหางค่าง

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-ขนาดกลาง สูง 5-20 เมตร ลำต้นมักคดงอ เรือนยอดมักเป็นพุ่มกลมทึบ เปลือกนอกสีขาวหม่นหรือสีเทาค่อนข้างเรียบ มีรอยแตกตื้นๆ ตามยาวต้น เปลือกในสีครีมแซม ด้วยริ้วสีเข้ม ตามกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลและมีช่องระบายอากาศทั่วไป

ใบ ออกเป็นช่อ ใบย่อยมี 1-4 คู่ ออกตรงข้ามกันที่ปลายสุดของช่อใบ มักเป็นใบเดี่ยวๆ โคนใบมนและ มักเบี้ยว ปลายใบมนและเป็นติ่งแหลมสั้นๆ เนื้อใบหนา หลังใบเกลี้ยง ท้อง ใบมีขนสากๆ ทั่วไป

ดอก สีขาวหรือเหลืองอ่อนออกรวมกันเป็นช่อโตๆ ตามปลายกิ่ง ช่อจะตั้งชี้ขึ้นและยาวถึง 40 ซม. โคนกลีบรองกลีบดอกเป็นถ้วย กลีบดอกเป็นหลอดส่วนช่วงบนขยายกว้าง ปลายเป็นริ้วๆ เกสรตัวผู้มี 2 คู่ สั้น 1 คู่ และยาว 1 คู่

ผล เป็นฝักรูปทรงกระบอกแต้โค้งงอเหมือนหางค่าง ขนาดฝักกว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 35-70 ซม. จะมีสันเป็นเส้นตามยาวฝัก 5 สัน และมีขนสีน้ำตาลแดงทั่วไป ฝักแก่แตกตามรอยประสาน

เมล็ด เมล็ดแบน มีเยื่อบางๆ ตามขอบคล้ายปีก

ต้นแคหางค่าง
ต้นแคหางค่าง ปลือกนอกสีขาวหม่นหรือสีเทาค่อนข้างเรียบ
ใบแคหางค่าง
ใบแคหางค่าง เนื้อใบหนา หลังใบเกลี้ยง ท้อง ใบมีขนสาก

การขยายพันธุ์ของแคหางค่าง

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่แคหางค่าง

ประโยชน์ของแคหางค่าง

ดอกและฝักอ่อนใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก แต่ต้องต้มให้สุกเสียก่อนเพราะมีรสขมเล็กน้อย

สรรพคุณทางยาของแคหางค่าง

  1. เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงโลหิต
  2. เมล็ดใช้เป็นยาขับเสมหะ
  3. ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้เปลือกต้นแคหางค่าง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องอืดเฟ้อ
  4. ใบใช้เป็นยาห้ามเลือด
  5. ใบใช้ตำพอกรักษาแผล แผลสด แผลถลอก แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
  6. ใบใช้ต้มกับน้ำอาบหรือนำมาตำคั้นเอาน้ำเป็นยาทาหรือพอกแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน หูด
  7. ชาวเขาเผ่าอีก้อ กะเหรี่ยงจะใช้ราก ต้น และเปลือกผล นำมาต้มกับน้ำอาบบรรเทาอาการปวดตามร่างกาย ปวดหลัง
  8. เมล็ดใช้เป็นยาแก้โรคชัก
ดอกแคหางค่าง
ดอกแคหางค่าง สีขาวหรือเหลืองอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของแคหางค่าง

การแปรรูปของแคหางค่าง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12110&SystemType=BEDO

Home


https://www.flickr.com

Add a Comment