แคหัวหมู ดอกต้มจิ้มกับน้ำพริก รับประทานเป็นผัก มีรสขมเล็กน้อย

แคหัวหมู

ชื่ออื่นๆ : แคหมู แคพุงหมู แคหัวหมู (ทั่วไป)  แคปุ๋มหมู (เชียงใหม่)  แคขอน แคหางต่าง แคหางค่าง (เลย) แคอาว (นครราชสีมา) ขุ่ย แคว (กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) แคหมากลิ่ม (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) แคยอดดำ (ภาคใต้)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Markhamia stipulata (Wall.) Seem. var. stipulata

ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE

ลักษณะของแคหัวหมู

ต้น  ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 5-12 เมตร

ใบ  ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคี่ เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบย่อย เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน รูปไข่แกมหอกหรือรูปรีแกมรูปใบหอก ยาว 8-20 เซนติเมตร กว้าง 4-9 เซนติเมตร ฐานแหลมหรือกลม ปลายแหลมถึงเรียวแหลม ขอบจักฟันเลื่อยถึงเกือบเรียบ มีขนสั้นประปราย

ดอก  ดอกแบบช่อกระจะ ออกที่ปลายยอด กลีบเลี้ยง เชื่อมกัน คล้ายรูปช้อน กลีบดอก มี 5 กลีบ เชื่อมกันเป็นรูปปากเปิด สีเหลือง เกสรเพศผู้ มี 4 อัน สั้น 2 อัน ยาว 2 อัน เกสรเพศเมีย มีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ

ผล  ผลแห้งแตก รูปแถบยาว แบน มีขนปุย เมล็ด มีปีกบางใส

แคหัวหมู
แคหัวหมู ใบรูปหอก ขอบจักฟันเลื่อยถึงเกือบเรียบ

การขยายพันธุ์ของแคหัวหมู

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่แคหัวหมูต้องการ

ประโยชน์ของแคหัวหมู

  • ดอก ต้มจิ้มกับน้ำพริก รับประทานเป็นผัก มีรสขมเล็กน้อย
  • กลีบดอกฝักอ่อน นำมาต้มก่อนแล้วจึงนำไปปรุงอาหาร เช่น ผัด ไม่นิยมนำไปแกง
ดอกแคหัวหมู
ดอกแคหัวหมู กลีบดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง

สรรพคุณทางยาของแคหัวหมู

คุณค่าทางโภชนาการของแคหัวหมู

การแปรรูปของแคหัวหมู

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9983&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment