แซะ ลำต้นใช้ก่อสร้าง เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลสำหรับจังหวัดนครศรีธรรมราช

แซะ

ชื่ออื่นๆ : กะแซะ (สุราษฏร์ธานี) ยีนิเก๊ะ (มลายู-นราธิวาส) แซะ (ทั่วไป)

ต้นกำเนิด : ตามชายป่าดิบชื้นภาคใต้ของไทย

ชื่อสามัญ : แซะ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millettia atropurpurea Benth.

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE

ลักษณะของแซะ

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูงถึง 30 เมตร ส่วนต่างๆ ของลำต้น กิ่งและใบเกลี้ยงยกเว้นกิ่งอ่อน ยอดและช่อดอกมีขนปกคลุม เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ดและร่อนออกเป็นแผ่นเล็กๆเปลือกในสีน้ำตาลอ่อน เมื่อเป็นแผลจะมียางสีแดงไหลซึมออกมา เนื้อไม้สีน้ำตาล

ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยออกตรงกันข้าม มีใบย่อยปลายก้านอีก 1 ใบ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก

ดอก ช่อดอกแตกแขนงตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบใกล้ยอด ดอกสีแดงแกมม่วงทึบ มีกลิ่นหอมดอก ยาวประมาณ 2 ซม. ถ้วยรองกลีบดอกมีฟันตื้นๆ ไม่เด่นชัด มีขนสั้นๆ ปกคลุม มีใบย่อยที่ยอดเดี่ยวๆ ยาว 20-35 ซม. นอกนั้นจับกันอยู่เป็นคู่ๆ เกือบตรงกันข้าม 3-5 คู่ ใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน

ผล ผลเป็นผลเดี่ยว ผลอ่อนแบน เมื่อผลแก่ เมล็ดขยายใหญ่จนเกือบเป็นทรงกระบอก มี 1-3 เมล็ด

ต้นแซะ
ต้นแซะ เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ดและร่อนออกเป็นแผ่นเล็กๆ
ใบแซะ
ใบแซะ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก
ดอกแซะ
ดอกแซะ ดอกสีแดงแกมม่วงทึบ

การขยายพันธุ์ของแซะ

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่แซะต้องการ

ประโยชน์ของแซะ

  • ยอดอ่อน มีรสมัน ใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก หรือกินกับขนมจีน
  • เปลือกต้น ใช้ย้อมผ้าฝ้าย (ให้สีแดง )
  • ผลใช้เป็นอาหารสัตว์
  • ลำต้นใช้ก่อสร้าง
  • เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลสำหรับจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537

แซะเป็นต้นไม้สูงใหญ่มีใบเขียวเข้มทรงทึบเวลากลางคืนดูน่ากลัว คนปักษ์ใต้สมัยก่อนมีความเชื่อว่า ต้นแซะมีผีแรง จึงไม่นิยมปลูกแซะไว้ในบริเวณบ้าน อีกประการหนึ่ง แซะมี2 ชนิด คือ แซะ (ทั่วไป) กับ แซะคลาน เฉพาะ “แซะคลาน” ซึ่งขึ้นอยู่ตามป่าเสม็ด ลำต้นของแซะชนิดนี้จะเอนราบขนานไปกับพื้นและแตกกิ่งเป็นช่วงๆยอดอ่อนของ “แซะคลาน”จะเหมือน
ยอดแซะทั่วไป ทุกประการ แต่กินไม่ได้ จะทำให้คลื่นเหียนอาเจียร ดังนั้น การซื้อยอดแซะจากตลาดเพื่อใช้เป็นผักเหนาะ
จึงควรระวัง ข้อมูล – นจ. )

สรรพคุณทางยาของแซะ

ยอดอ่อน ช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง

คุณค่าทางโภชนาการของแซะ

การแปรรูปของก่อขี้หมู

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11767&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment