แมงลัก เมล็ดแมงลัก พืชล้มลุกมากสรรพคุณ ตัวช่วยล้างลำไส้ และลดน้ำหนัก

แมงลัก เมล็ดแมงลัก พืชล้มลุกมากสรรพคุณ ตัวช่วยล้างลำไส้ และลดน้ำหนัก

ชื่ออื่นๆ : ก้อมก้อข้าว (ภาคเหนือ), มังลัก อีตู่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ต้นกำเนิด : เขตร้อนของทวีปอัฟริกาและเอเชีย

ชื่อสามัญ : Hairy Basil

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum basilicum L.f. var. citratum Back.

ชื่อวงศ์ : Labiatae

แมงลัก พืชล้มลุกมากสรรพคุณ กินอิ่มไม่อ้วนตัวช่วยล้างลำไส้ และลดน้ำหนัก
ต้นแมงลัก

ลักษณะของแมงลัก

แมงลักมีลักษณะทรงต้น ใบ ดอก และผลคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่น ใบสีเขียวอ่อนกว่า กลีบดอกสีขาวและใบประดับสีเขียว เป็นพืชล้มลุกในสกุลกะเพราโหระพา แมงลักมีใบเล็ก สีอ่อน บอบบาง ช้ำง่ายและเหี่ยวง่ายกว่า ชื่อสามัญเดิมเรียกกันว่า hoary basil (hoary แปลว่าผมหงอก) โดยนำมาจากลักษณะที่มีขนอ่อนสีขาวๆ บริเวณก้านใบและยอดอ่อน ต่อมาก็เปลี่ยนมาเรียกว่า lemon basil ตามลักษณะกลิ่นที่คล้ายส้ม-มะนาว ส่วนแมงลักศรแดงของไทยเรียกว่า thai lemon basil

การขยายพันธุ์ของแมงลัก

ใช้เมล็ด/เมล็ดโปรยตามธรรมชาติ

ธาตุอาหารหลักที่แมงลักต้องการ

แมงลักเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุเฉลี่ย 1-2 ปี ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวไปได้เรื่อยๆ ทุก 15-20 วัน การเลือกพื้นที่ปลูกควรเป็นที่ดอน แต่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ สามารถนำน้ำมาใช้รดได้สะดวก ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมขัง ปกติสามารถขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด แต่แมงลักจะชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ร่วนซุย ระบายน้ำดี และปลอดจากลมแรง

ประโยชน์ของแมงลัก

แมงลักนำไปใช้ได้ทั้งใบและเมล็ด ใบมีกลิ่นฉุน ใช้ประกอบอาหารเช่นเดียวกับกะเพราและโหระพา ส่วนมากจะใช้รับประทานกับขนมจีน หรือใส่เครื่องแกงต่างๆ ส่วนเมล็ดแมงลักใช้ทำเป็นขนมอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ เมล็ดแมงลักนำมาทำเป็นยาระบายและอาหารเสริมลดความอ้วนได้

สรรพคุณทางยาของแมงลัก

ตำรายาไทยมักเรียกผลแมงลักว่าเม็ดแมงลัก ใช้เป็นยาระบายชนิดเพิ่มกาก เพราะเปลือกผลมีสารเมือกซึ่งสามารถพองตัวในน้ำได้ 45 เท่า เหมาะสำหรับ ผู้ที่ไม่ชอบกินอาหารที่มีกากเช่น ผัก ผลไม้ ใช้ผลแมงลัก 1-2 ช้อนชา แช่น้ำ 1 แก้ว จนพองตัวเต็มที่ กินก่อนนอน ถ้าผลแมงลักพองตัวไม่เต็มที่จะทำให้ท้องอืดและอุจจาระแข็ง จากการทดลองพบว่าแมงลักทำให้จำนวนครั้งในการถ่ายและปริมาณอุจจาระเพิ่มขึ้น รวมทั้งทำให้อุจจาระอ่อนตัวกว่าปกติ นอกจากนี้ใบและต้นสดมีฤทธิ์ขับลม เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหย

คุณค่าทางโภชนาการของแมงลัก

  • แมงลักมีโปรตีน 3.8 กรัมต่อน้ำหนักใบสด 100 กรัม
  • แมงลัก 1 ขีด มีบีตา-แคโรทีนสูงถึง 590.56 ไมโครกรัม เทียบหน่วยเรตินัล สูงกว่ากะเพราและโหระพา
  • แคลเซียม 140 มิลลิกรัม
  • พลังงาน 0.032 กิโลแคลอรี่
  • วิตามินเอ 9,164 หน่วยสากล
  • วิตามินบี2 ประมาณ 0.14 มิลลิกรัม
  • ไขมันสูงถึง 0.8 กรัม
  • แป้งมากถึง 11.1 กรัม
  • แคลเซียม 350 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 4.9 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี1 0.30 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 78 มิลลิกรัม

การแปรรูปของแมงลัก

แมงลัก ใบใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร เช่น ห่อหมก แกงเลียง อ่อม แกงคั่ว ขนมจีนน้ำยา แกงหน่อไม้ พบมากในอาหารอีสาน เมล็ดแชน้ำให้พอง ใช้ทำขนมหรือรับประทานกับน้ำแข็งไส ไอศกรีม ใบมีฤทธิ์ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร เมล็ดช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบาย สกัดน้ำมันหอมระเหยจากใบไปใช้ในอุตสาหกรรมสบู่และเครื่องสำอาง กิ่งและใบทุบแล้ววางในเล้าไก่ ช่วยไล่ไรตัวเล็กๆได้

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับแมงลัก

References : www.bedo.or.th

รูปภาพจาก : th.wikipedia.org/wiki

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

3 Comments

Add a Comment