แสมดำ ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สรรพคุณแสมดำทุกส่วนใช้ต้มดื่ม

แสมดำ

ชื่ออื่นๆ :

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : แสมดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Avicennia officinalis L.

ชื่อวงศ์ : Avicenniaceae

ลักษณะของแสมดำ

ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง-ใหญ่ สูง 8-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มหนา แตกกิ่ง ระดับต่ำ ไม่มีพูพอน เปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กน้อย สีเทาถึงเทาอมน้ำตาล หรือน้ำตาลอมเขียว มีช่องอากาศตามลำต้น มีรากหายใจคล้ายดินสอ ยาว 15-25 ซม.
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรี่ยงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี หรือรูปไข่กลับ ขนาด 3 – 5 x 6 – 9 ซม. ปลายใบกลม ฐานใบแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านท้องใบมีขนนุ่น สีเหลืองอมน้ำตาล ก้านใบยาว 0.7 -1.1 ซม. ใบออ่นมีขน ดอก ออกที่ปลายกิ่ง หรือง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง

แสมดำ
ใบสีเขียวเข้ม อวบน้ำ ดอกสีขาวเหลือง

การขยายพันธุ์ของแสมดำ

-/-

ธาตุอาหารหลักที่แสมดำต้องการ

ประโยชน์ของแสมดำ

ประโยชน์ด้านสมุนไพร แก่จะมีรสเค็มเฝื่อน ต้มน้ำแก้ลมในกระดูก แก้กษัยโดยมากจะใช้คู่กับแก่นแสมสาน เป็นยาขับโลหิตเสียของสตรี

สรรพคุณทางยาของแสมดำ

สรรพคุณแสมดำทุกส่วน (ใช้ต้มดื่ม)
บรรเทาอาการโรคเกี่ยวกับข้อ และกระดูก แก้กษัยเส้น ช่วยเจริญอาหาร แก้ปัสสาวะพิการ แก้หอบหืด แก้ไอกรน รักษาฝีในท้อง ต้านการอักเสบ ช่วยขับเสมหะ แก้ริดสีดวงทวาร แก้อาการท้องมาน แก้อาการอาเจียน แก้อาการแน่นท้อง จุกเสียดท้อง แก้อาการท้องเสีย ทุกส่วน (ใช้ต้มอาบหรือทาภายนอก) รักษาโรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน รักษาแผล แผลสด หรือ แผลเป็นหนอง เปลือก และแก่นลำต้น (นำมาต้มดื่ม มีรสเค็ม และเฝื่อน) แก้ลมในกระดูก แก้กษัยเส้น แก่นแสมดำใช้คู่กับแก่นแสมสานสำหรับทำเป็นยาขับโลหิตเสียของสตรี

คุณค่าทางโภชนาการของแสมดำ

การแปรรูปของแสมดำ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9486&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment