แสยก ชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia tithymaloides L. ต้นมีน้ำยางมาก

แสยก

ชื่ออื่นๆ : กะแหยก, มหาประสาน, ย่าง, แสยกสามสี (กลาง) เคียะไก่ให้ (เหนือ) นางกวัก (กทม. แม่ฮ่องสอน) ว่านสลี (แม่ฮ่องสอน), แสยกใบหยิก

ต้นกำเนิด :  อเมริกากลาง

ชื่อสามัญ : Slipper flower

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia tithymaloides L.

ชื่อพ้อง : Crepidaria carinata (Donn) Haw., Crepidaria myrtifolia (L.) Haw., Crepidaria subcarinata Haw., Euphorbia tithymaloides var. myrtifolia L., Pedilanthus campester Brandegee

ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะของแสยก

ต้นแสยก   ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 40-100 ซม. ลำต้นอ้วนสั้น หักงอไปมาทำให้เป็นรูปซิกแซก สีเขียว ผิวเรียบ มีน้ำยางมาก

ใบแสยก   ใบเดี่ยวเรียงสลับในระนาบเดียว หูใบเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มม. แผ่นใบรูปไข่หรือณุปไข่ยาว กว้าง 2.5-5.0 ซม. ยาว 3.5-8.0 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม มีขนสั้นนุ่ม

ดอกแสยก   ดอกออกเป็นช่อตามลำต้น ที่ยอดและตามกิ่งแขนงสั้น ๆ ใกล้ยอด ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน มีขน ช่อดอกยาว 1.0-2.5 ซม. ใบประดับด้านนอกมีขนสั้นปกคลุมหนาแน่น ดอกรูปเรือสีแดงเข้มหรือม่วงแดง 5 กลีบ เรียงเป็นชั้น ระยะติดดอกช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม

ต้นแสยก
ต้นแสยก ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นอ้วนสั้น สีเขียว ผิวเรียบ
ดอกแสยก
ดอกแสยก ดอกสีแดงเข้มหรือม่วงแดง

การขยายพันธุ์ของแสยก

การปักชำ, การแยกต้น

ธาตุอาหารหลักที่แสยกต้องการ

ปลูกได้ดีทั้งในที่มีแสงแดดจัด และร่มรำไร

ประโยชน์ของแสยก

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ
  • ปลูกเป็นรั้วกั้นต้นไม้ ทำรั้วกันทางเดินในบริเวณบ้าน

สรรพคุณของแสยก

  • ยาง  น้ำยางต้นรสร้อนเมา ใช้กัดหูด ทาผิวหนังแก้เกลื้อน แมงป่องต่อย ตะขาบกัด แต่ถ้ากินจะทำให้อาเจียน 
  • ทั้งต้น รสเมาเบื่อเอียน สมานแผล ห้ามเลือดได้ดี ทาผิวหนังแก้โรคกลาก เกลื้อน พิษแมลงป่องต่อย ตะขาบกัดต่อย ถ้าทุบใส่บ่อปลาๆ จะตายหมด

คุณค่าทางโภชนาการของแสยก

การแปรรูปแสยก

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org, www.srdi.yru.ac.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment