แสลงใจ (โกฏกะกลิ้ง) ใช้ในปริมาณต่ำเป็นยาบำรุงธาตุ ใช้มากจะเป็นพิษอย่างรุนแรงถึงตายได้

แสลงใจ (โกฏกะกลิ้ง)

ชื่ออื่นๆ : กระจี้, กะกลิ้ง, ตูมกาแดง, ตูมกาขาว, แสลงทม, แสลงเบื่อ, แสลงเบือ

ต้นกำเนิด : ป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรัง

ชื่อสามัญ : Nux-vomica Tree, Snake Wood

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strychnos nux-vomica L.

ชื่อวงศ์ : Strychnaceae

ลักษณะของแสลงใจ (โกฏกะกลิ้ง)

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 30 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 10-13 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาและมีรูตาตามเปลือก กิ่งก้านเงามัน

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี หรือรูปไข่ ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมนเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ มีเส้นใบตามขวาง 5 เส้น ยาว 3 เส้น ก้านใบสั้นยาวได้ประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ออกใบดกและหนาทึบ

ต้นแสลงใจ
ต้นแสลงใจ เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาและมีรูตาตามเปลือก

ดอก ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ช่อดอกมีลักษณะคล้ายร่ม ดอกย่อยมีขนาดเล็ด ดอกเป็นสีเขียวอ่อน สีขาว หรือสีเทาอมขาว ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกแตกออกเป็น 5 กลีบ (กลีบดอกมี 5 กลีบ) กลีบดอกยาวประมาณ 2.5-4 มิลลิเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ ปลายกลีบดอกแหลม ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน

ผล ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลมีขนาดประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีส้มแดง ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 3-5 เมล็ด

เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปกลมแบน คล้ายรูปโล่หรือกระดุม เมล็ดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ผิวเมล็ดเป็นสีเทาอมสีเหลือง และมีขนสีน้ำตาลอ่อนหรือสีขาวขึ้นปกคลุมคล้ายกำมะหยี่

ใบแสลงใจ
ใบแสลงใจ ใบเป็นรูปรี หรือรูปไข่ ปลายใบมนหรือแหลม

การขยายพันธุ์ของแสลงใจ

การใช้เมล็ด, การตอน

เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีความชื้นอยู่ด้วย ในประเทศเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค (ยกเว้นภาคใต้) ตามป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรัง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-500 เมตร ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่อินเดีย ศรีลังกา กัมพูชา ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย

ธาตุอาหารหลักที่แสลงใจ (โกฏกะกลิ้ง) ต้องการ

ประโยชน์ของแสลงใจ (โกฏกะกลิ้ง)

  1. เมล็ดใช้เป็นยาเบื่อหนูและสุนัข หรือนำไปป่นใช้เป็นเบื่อปลาก็ได้ บางข้อมูลระบุว่าเปลือกและรากของต้นแสลงใจถูกนำไปสกัดเป็นยาพิษที่มีชื่อว่า ยาพิษคูแร (curare) ของชนเผ่าอินเดีย
    แดง โดยจะใช้อาบปลายลูกศรเพื่อใช้นำไปใช้ในการล่าสัตว์
  2. เนื้อไม้ของต้นแสลงใจเป็นไม้เนื้ออ่อน ตกแต่งได้ง่าย ปลวกไม่ชอบกิน สามารถนำมาใช้ทำเป็นของเล่นสำหรับเด็ก เครื่องแกะสลัก ด้ามเครื่องมือทางการเกษตรได้ ฯลฯ
ดอกแสดงใจ
ดอกแสดงใจ ดอกสีเขียวอ่อน คล้ายซี่ร่ม

สรรพคุณแสลงใจ (โกฏกะกลิ้ง)

ส่วนที่เป็นพิษ  เมล็ด  ดอก

สรรพคุณ : เมล็ด

  • มี Alkaloid เรียกว่า Strychnine
  • เป็นยาบำรุงหัวใจให้เต้นแรงและบำรุงประสาทอย่างแรง
  • ยาที่เบื่อสุนัขให้ผงอัลคาลอยด์ของสตริกนิน 1 เกรน เบื่อสุนัขได้ 1 ตัว ก่อนตายมีอาการชักกะตุกจนตาย ภายใน 1-3 ชั่วโมง (**ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตถือเป็นบาป ไม่ควรทำ)
  • มีรสเมาเบื่อขมเล็กน้อย ตัดไข้ตัดพิษกระษัยเจริญอาหาร

วิธีและปริมาณที่ใช้
ทิงเจอร์นักสะวอมมิกา (Tincture Nux vomica) เป็นยาน้ำสีเหลืองทำจากเมล็ดของต้นแสลงใจ รับประทานได้ 5-15 หยด

  • เป็นยาบำรุงประสาท ให้มีกำลังรู้สึกเฉียบแหลมขึ้น บำรุงเส้นประสาทชนิดโมเตอร์ ให้กระเพาะและลำไส้ขย้อนอาหารและขับน้ำไฟธาตุ
  • ใช้แก้โรคอัมพาต เส้นตายและเนื้อชาไม่รู้สึก
  • ใช้เป็นยาบำรุงความกำหนัด
  • ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ เป็นยาระบายอย่างอ่อน

ยานี้รับประทานมากไม่ได้เป็นยาพิษ
สตริกนินเป็นยาด่างที่แยกออกจากยานี้ รับประทานได้ 1/200 เกรน หรือ 1/100 เกรน ใช้ยาอย่างเดียวกับยานักสะวอมมิกา

  • ใช้แก้ในทางประสาทพิการ เส้นตาย หรือเป็นเหน็บชาต่างๆ
  • แก้โรคอันเกิดจาก ปากคอพิการ ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้พิษงู พิษตะขาบ พิษแมลงป่อง แก้ลมกระเพื่อมในท้อง แก้คลื่นเหียน แก้ลมพานไส้ แก้ริดสีดวงทวาร โลหิตพิการ ทำให้ตัวเย็น ขับลมในลำไส้

ในเภสัชตำรับกล่าวว่า ลูกโกฏกะกลิ้งหรือลูกกกะจี้ หรือแสลงใจนั้น ประกอบด้วยเมล็ดแห้งสุกของ Strychnos nux vomica L. มีไม่มากกว่า 1% ของ Oganic วัตถุอื่นๆ และไม่น้อยกว่า 1.2% ของ Strychnos สรรพคุณ ของ Strychnos nux vomica เนื่องจาก Strychnine ที่มีอยุ่ ใช้ผงผสมกับ Bismuth หรือ Pepsin ใส่ Cachet ใช้ในโรคธาตุพิการไม่มีกำลังย่อยอาหาร ใช้มากในยาผสมต่างๆ สำหรับบำรุงการย่อยอาหารในปาก ทำให้ขมและอยากอาหารในลำไส้ ทำให้ลำไส้เกิดอาการไหวตัว ใช้ผสมกับยาถ่ายต่างๆ เช่น Cascara ใช้ในโรคพรรดึกเรื้อรัง เนื่องขากลำไส้ไม่มีกำลัง ใช้ Extract อย่างแห้งผสมน้ำ เป็นยาเม็ดประกอบด้วยยาระบายหรือยาจำพวกเหล็ก สำหรับโรคโลหิตจาง

ผลแสลงใจ
ผลแสลงใจ ผลเป็นรูปทรงกลม ผลสุกสีส้ม

สรรคุณทางยา

  1. เมล็ดแก่แห้ง (โกฐกะกลิ้ง) ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร ช่วยขับน้ำย่อย ด้วยการนำเมล็ดมาดองกับเหล้ากิน แต่ต้องใช้ในปริมาณที่น้อย เพราะใช้มากจะเป็นพิษ (เมล็ด)
  2. ช่วยบำรุงประสาท (เมล็ด)
  3. เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงหัวใจให้เต้นแรงขึ้น (เมล็ด)
  4. เมล็ดมีรสเมาเบื่อขม เป็นยาเย็น มีพิษมาก ก่อนนำมาใช้ต้องผ่านกรรมวิธีกำจัดพิษก่อน โดยมีสรรพคุณเป็นยากระจายเลือดลม ทำให้เลือดเย็น แก้เลือดร้อน ช่วยทะลวงเส้นลมปราณ (เมล็ด)
  5. เมล็ดใช้ในปริมาณต่ำจะมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยกระตุ้นระบบการหายใจและระบบการไหลเวียนของเลือด (เมล็ด)
  6. เมล็ดเป็นยาบำรุงประสาทอย่างแรง (เมล็ด)
  7. เมล็ดมีสรรพคุณช่วยตัดพิษไข้ ตัดพิษกระษัย (เมล็ด)
  8. รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย (ราก)
  9. ช่วยแก้โรคโปลิโอในเด็ก (เมล็ด)
  10. รากมีรสเมาเบื่อขม ใช้กินเป็นยาแก้ท้องขึ้น (ราก)
  11. เมล็ดมีสรรพคุณช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ (เมล็ด)
  12. ช่วยแก้โรคไตพิการ (ใบ)
  13. รากใช้ฝนกับน้ำกินและทาแก้อาการอักเสบจากงูกัด (ราก)
  14. ใบมีรสเมาเบื่อขม ใช้ตำกับเหล้าพอกปิดแผลเรื้อรังเน่าเปื่อย (ใบ)
  15. ช่วยแก้ฝีต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก (เมล็ด)
  16. ใช้แก้มะเร็งที่บริเวณผิวหนัง (เมล็ด)
  17. ใบใช้ตำพอกแก้อาการฟกช้ำ (ใบ) ส่วนเมล็ดใช้ภายนอกก็เป็นยาแก้ฟกช้ำดำเขียวได้เช่นกัน (เมล็ด)
  18. แก่นใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อย (แก่น)
  19. เมล็ดมีสรรพคุณแก้ปวดบวม แก้อัมพฤกษ อัมพาต ช่วยขับลมชื้น แก้เหน็บชาและรูมาติซั่ม (เมล็ด)
  20. ทิงเจอร์นักสะวอมมิกา (Tincture Nux vomica) ซึ่งทำมาจากเมล็ดของต้นแสลงใจจะมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงประสาท ช่วยทำให้มีกำลังรู้สึกเฉียบแหลมขึ้น บำรุงเส้นประสาทชนิดโมเตอร์ ให้กระเพาะและลำไส้ขย้อนอาหารและขับน้ำไฟธาตุ ช่วยบำรุงธาตุ ทำให้ตัวเย็น แก้โลหิตพิการ แก้โรคอันเกิดจากปากคอพิการ แก้คลื่นเหียน เป็นยาระบายอย่างอ่อน ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ลมกระเพื่อมในท้อง แก้ลมพานไส้ แก้ริดสีดวงทวาร ใช้เป็นยาบำรุงความกำหนัด ใช้แก้โรคอัมพาต เส้นตายและเนื้อชาไม่รู้สึก ใช้แก้ประสาทพิการ เส้นตาย เป็นเหน็บชาต่าง ๆ แก้พิษงู พิษตะขาบ พิษแมลงป่อง (ทิงเจอร์นักสะวอมมิกา)

หมายเหตุ : เมล็ดมีพิษมาก ก่อนนำมาใช้เป็นยาต้องนำมาผ่านกรรมวิธีกำจัดพิษออกก่อน ด้วยการนำเมล็ดแสลงใจมาคั่วกับทราย จนเมล็ดมีสีน้ำตาลเข้มพองตัวออกและแตกอ้า แล้วจึงนำเมล็ดมาปอกเปลือกเพื่อกำจัดขน และนำไปแช่ในน้ำปูนขาว 2 คืน ครบแล้วจึงนำออกมาตากแดดให้แห้ง แล้วหั่นเป็นแผ่น ๆ หรือบดให้เป็นผง จึงจะสามารถนำมาใช้เป็นยาได้ (จะใช้วิธีต้มหรือย่างเพื่อลดปริมาณของสารพิษก็ได้) โดยเมล็ดที่ผ่านกรรมวิธีการกำจักพิษแล้ว ขนาดที่ใช้สำหรับเด็กอายุ 1-4 ขวบ ให้ใช้ครั้งละ 0.2 กรัม วันละ 2-3 ครั้ง ถ้าเป็นผู้ใหญ่ให้ใช้ครั้งละ 0.3-0.6 กรัม วันละ 2-3 ครั้ง[4] ส่วนทิงเจอร์นักสะวอมมิกา (Tincture Nux vomica) ให้รับประทานได้ 5-15 หยด

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรแสลงใจ
1. ในเมล็ดมีสาร Brucine หากนำมาใช้ในปริมาณมากจะเป็นพิษ โดยจะออกมีฤทธิ์กระตุ้นเส้นประสาทไขสันหลัง ทำให้เบื่อเมา ทำให้มีอาการกลืนอาหารลำบาก กล้ามเนื้อเกร็งแข็ง และชักกระตุก และอาจทำให้เสียชีวิตได้
2. การรับประทานแต่น้อย แต่รับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะเป็นอันตรายต่อตับ
3. สำหรับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับ หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตรไม่ควรรับประทานยานี้ (ในบางประเทศไม่ยอมรับสมุนไพรชนิดนี้ว่าเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรค)

คุณค่าทางโภชนาการของแสลงใจ (โกฏกะกลิ้ง)

การแปรรูปของแสลงใจ (โกฏกะกลิ้ง)

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11682&SystemType=BEDO
https://arit.kpru.ac.th
https://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com

Add a Comment