โกโก้ ผงโกโก้ที่ได้จากการบดเมล็ดนำมาชงเป็นเครื่องดื่มสำเร็จรูป

โกโก้

ชื่ออื่นๆ : โกโก้, โคโค่ (ภาคกลาง)

ต้นกำเนิด : อเมริกาใต้และเม็กซิโก ประเทศไทยพบมากทางภาคใต้

ชื่อสามัญ : Cocoa Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Theobroma cacao L.

ชื่อวงศ์ : Sterculiaceae

ลักษณะของโกโก้

ต้น ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 ม. อาจสูงได้ถึง 13 ม

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปรี รูปไข่ หรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 10–35 ซม. แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนรูปดาวกระจายด้านล่าง ก้านใบยาว 1–2 ซม. ปลายก้านป่อง

ดอก  ดอกออกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น กระจุกละ 3–5 ดอก สีขาวหรือขาวประชมพู ดอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 1–2 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ พับงอกลับ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลืองหรือขาวอมชมพู บาง ติดระหว่างกลีบเลี้ยง สั้นกว่ากลีบเลี้ยงเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 10 อัน โคนเชื่อมติดกัน ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 5 แฉก

ผล รูปไข่แกมรูปขอบขนานหรือรูปรี ผิวแข็งขรุขระเป็นร่อง 10 ร่อง สีเหลือง ม่วง หรือแดง มี 20-60 เมล็ด เรียงเป็นแถว 5 แถว ยาวตามแกนกลางของผล ออกมากที่สุดช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน

เมล็ด เมล็ดโกโก้มีลักษณะรี และแบนเล็กน้อย ถูกหุ้มด้วยเยื่อเมล็ดสีขาวใส เยื่อเมล็ดอ่อนนุ่ม และฉ่ำน้ำ ซึ่งให้รสหวาน ปลายเมล็ดทั้งสองด้านมน เนื้อเมล็ดแน่น มีสีน้ำตาล ขนาดเมล็ดประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร

ต้นโกโก้
ต้นโกโก้ ไม้ต้นขนาดเล็ก ใบรูปรี แผ่นใบเกลี้ยง

การขยายพันธุ์ของโกโก้

การเพาะเมล็ด, การปักชำราก, การต่อกิ่ง, การทาบกิ่ง หรือการติดตา

พันธุ์โกโก้ที่นิยมปลูก
1. พันธุ์ Forastero
พันธุ์ Forastero นิยมปลูกมากในประเทศแถบแอฟริกา อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย และเป็นพันธุ์ที่ปลูก และให้ผลผลิตมากที่สุดในทุกสายพันธุ์ ประมาณ 80% ของผลผลิตโกโก้ทั่วโลก เนื่องจากให้เมล็ดมาก ใน 1 ผล จะให้เมล็ดโกโก้ตั้งแต่ 30 เมล็ด ขึ้นไป มีลักษณะเด่น คือ ใบเลี้ยงสีม่วงแก่ ผลมีสีเขียว เปลือกผลแข็ง เติบโตอย่างรวดเร็ว และปรับตัวได้ดีในแต่ละพื้นที่

2. พันธุ์ Trinitario
พันธุ์ Trinitario เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศแถบอเมริกากลาง อเมริกาใต้ และพบปลูกในประเทศเอเชียบางประเทศ เป็นพันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์แอฟริกันอมีโลนาโดกับพันธุ์คริโอโล (Criollo) นิยมปลูกด้วยวิธีการเสียบยอด และใช้กิ่งพันธุ์ปักชำ พันธุ์นี้ให้เมล็ดมากเหมือนกับพันธุ์ Forastero คือ มีเมล็ดโกโก้ตั้งแต่ 30 เมล็ด ขึ้นไป แต่จะโดดเด่นกว่าที่ความหอมของเมล็ด มีลักษณะเด่น คือ ผล และเมล็ดมีขนาดใหญ่ ก้นผลแหลม ใบเลี้ยงมีหลากหลายสี ผลอาจมีสีเขียวหรือสีขาว เปลือกผลแข็ง ต้านทานโรค และให้ผลผลิตสูง

3. พันธุ์ Criollo
พันธุ์ Criollo เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศแถบตะวันตกของเทือกเขาแอนดีสของทวีปอเมริกาใต้ พันธุ์นี้ ให้เมล็ดน้อยกว่า 2 พันธุ์ข้างต้น คือ 1 ผลจะให้เมล็ดโกโก้ประมาณ 20 – 30 เมล็ด ขึ้นไป มีลักษณะเด่น คือ ใบเลี้ยงสีขาวอมครีมหรือสีม่วงอ่อน ผลมีสีแดง แต่ต้านทานโรคได้ต่ำ เติบโตช้า แต่ที่นิยมปลูกเพราะมีความหอมของเมล็ดมากกว่าพันธุ์อื่นๆ

ธาตุอาหารหลักที่โกโก้ต้องการ

ประโยชน์ของโกโก้

  1. เมล็ดโกโก้ใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ขนมโกโก้ชนิดต่างๆ ได้แก่ โกโก้ผง และโกโก้เหลว รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ช็อกโกแลต
  2.  ผงโกโก้หรือโกโก้เหลวใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม อาทิ นมโกโก้
  3. ผงโกโก้หรือโกโก้เหลวใช้เป็นส่วนผสมในขมหวานขนมขบเคี้ยวต่างๆ อาทิ ลูกอม ลูกกวาด ขนมปัง คุกกี้ และเค้ก เป็นต้น
  4. ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางหลายชนิด ได้แก่ น้ำหอม ลิปสติก
  5. ใช้เป็นสารเติมแต่งกลิ่นในอุตสาหกรรมบุหรี่
  6. ใช้เป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมผลิตยา
  7. ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์
  8. สารจากเมล็ดมีรสขม ใช้ผลิตช็อกโกแลต มีสารโพลีฟีนอลที่ช่วยลดอนุมูลอิสระของไลโปโปรตีนความแน่นต่ำช่วยป้องกันโรคหัวใจ ไขมันจากเมล็ด (Cocoa Butter) ใช้ทำสบู่ และเครื่องสำอาง และยังมีสาร theobromine มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ขยายหลอดเลือด และคลายกล้ามเนื้อ

กรดในเมล็ดโกโก้ที่ทำให้เกิดกลิ่นหอม

  •  Acetic acid
  • Propionic acid
  • Butyric acid
  •  Isobutyric acid
  • Isovaleric acid
ดอกโกโก้
ดอกโกโก้ ดอกสีขาวอมเหลือง

สรรพคุณทางยาของโกโก้

  • ออกฤทธิ์ต้าน และกำจัดอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อของเซลล์ ผิวพรรณแลดูอ่อนกว่าวัย
  • ช่วยป้องกันโรคในระบบหลอดเลือด และหัวใจ
  • ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
  • ช่วยลดไขมันอุดตันในเส้นเลือด
  • กระตุ้นการทำงานของเกร็ดเลือด
  • ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
  • ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

คุณค่าทางโภชนาการของโกโก้

เมล็ดโกโก้สดกระเทาะเปลือกหนัก 100 กรัม ประกอบด้วย

  • น้ำ 35 กรัม
  • โปรตีน 8.4 กรัม
  • ไขมัน 31.3 กรัม
  • แป้ง 4.5 กรัม
  • น้ำตาล 6 กรัม
  • เส้นใย 3.2 กรัม
  • ทีโอไปรมีน 2.4กรัม
  • คาเฟอีน 0.8 กรัม
  • สารโพลีฟีนอล ( Polyhenols ) ซึ่งประกอบด้วยคาเทซีน ( catechins ) แทนนิน
ผลโกโก้
ผลโกโก้ ผลรูปรี ผิวแข็งขรุขระเป็นร่อง สีเขียว สีเหลือง

การแปรรูปของโกโก้

  • มีการนำผงโกโก้มาผลิตช็อคโกแลตนม
  • ใช้ในการผลิต ขนมหวาน ขนมปังกรอบ ไอศกรีม และผลิตภัณฑ์อาหารรสช็อคโกแลตอื่น ๆ
  • นำไปใช้ในการผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเภสัชกรรมเล็กน้อย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9768&SystemType=BEDO
https:// blog.nsru.ac.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment