โคลงเคลงเลื้อย ปลูกเป็นไม้คลุมดิน ดอกออกตลอดทั้งปี

โคลงเคลงเลื้อย

ชื่ออื่นๆ : สำเหร่

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Oyster plant, Pink lady, White flowered tradescantia, Boatlily, Spanish Shawl

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heterocentron elegans (Schltdl.) Kuntze)

ชื่อวงศ์ : MELASTOMATACEAE

ลักษณะของโคลงเคลงเลื้อย

ลำต้น ไม้เลื้อยอายุหลายปีทุกส่วนอวบน้ำและมีขนปกคลุม ลำต้นทอดเลื้อยคลุมดิน รากออกตามข้อ กิ่งก้านสีแดงเรื่อ

ใบ  ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่ถึงรูปรีป้อม กว้าง 1 – 2 เซนติเมตร ยาว 2 – 3 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน แผ่นใบหนาและมีขนสั้นนุ่มเส้นใบชัดเจน

ดอก  ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบปลายยอด สีม่วงสด กลีบดอกบอบบาง 4 – 5 กลีบ ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 – 5 เซนติเมตร ออกดอกตลอดปี

ผล  ผลรูปรี มีขนเหมือนหนามปกคลุม

ต้นโคลงเคลง
ต้นโคลงเคลง ลำต้นเลื้อย แผ่นใบหนาและมีขนสั้นนุ่ม

การขยายพันธุ์ของโคลงเคลงเลื้อย

ปักชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่โคลงเคลงเลื้อยต้องการ

ประโยชน์ของโคลงเคลงเลื้อย

ปลูกเป็นไม้คลุมดิน แต่ดอกร่วงง่าย ถ้าปลูกในที่ร่ม ลำต้นจะยืดยาวและออกดอก

สรรพคุณทางยาของโคลงเคลงเลื้อย

ราก  บํารุงธาตุในร่างกายใช้ปรุงเป็นยาดับพิษไข้ ช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยบํารุงตับ ไต และดีปรุงเป็นยาแก้ปวด

ใบต้มกับน้ำหรือน้ำคั้นจากใบ ใช้เป็นยากลั้วคอหรือยาบ้วนปาก ใช้แก้เชื้อราในช่องปากหรือลําคอ

ใบ ใช้รักษาโรคท้องร่วง โรคบิด ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ดอก เป็นยาระงับประสาท ยาห้ามเลือดในคนที่เป็นริดสีดวงทวาร

ดอกโคลงเคลงเลื้อย
ดอกโคลงเคลงเลื้อย ดอกสีม่วงสด

คุณค่าทางโภชนาการของโคลงเคลงเลื้อย

การแปรรูปของโคลงเคลงเลื้อย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11263&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment