โมกใหญ่ ปลูกประดับสวน ดอกหอมมีขนาดใหญ่มองเห็นชัดเจน

โมกใหญ่

ชื่ออื่นๆ : โมกมัน, โมกมันหลวง, โมกหลวง, โมกมันน้อย, โมกเขา, โมกทุ่งโมกใหญ่, พุด, ยางพุด, พุทธรักษา, หนามเนื้อ 

ต้นกำเนิด : อินเดีย เนปาล บังกลาเทศ พม่า จีน และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบทุกภาคยกเว้นภาคใต้ตอนล่าง

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Holarrhena pubescens Wall. ex G.Don

ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

ลักษณะของโมกใหญ่

ต้น : ไม้ต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูง 5-8 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ เปลือกสีเทาหรือสีน้ำตาลแตกเป็นสะเก็ด

ใบ : เดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปมนกว้างหรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 5-12 ซม. ยาว 8-24 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือแหลม ใบอ่อนมีขนสีเทาอมเหลืองพอแก่จะหลุดร่วงไป ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบข้างละ 9-13 เส้น ก้านใบยาว 2-6 มม.

ดอก : สีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 4-14 ซม. กว้าง 7-12 ซม. ทุกส่วนเกลี้ยงหรือมีขนสั้นนุ่ม กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นวงปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปเข็มปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5-2 ซม. มีกลิ่นหอม

ผล : เป็นฝักแห้งแตก ฝักยาวคู่รูปทรงกระบอก กว้าง 5-9 มม. ยาว 20-35 ซม. มีช่องระบายอากาศทั่วไป เมล็ด ยาว 1.4 ซม. มีขนอ่อนสีน้ำตาลยาวติดอยู่เป็นกระจุก

โมกใหญ่
โมกใหญ่ สีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง

การขยายพันธุ์ของโมกใหญ่

ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด หรือปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่โมกใหญ่ต้องการ

ประโยชน์ของโมกใหญ่

ต้นขนาดกลางเหมาะกับการปลูกประดับสวน ดอกหอมมีขนาดใหญ่มองเห็นชัดเจน

สรรพคุณทางยาของโมกใหญ่

  • เปลือก รักษาโรคบิด
  • เมล็ด เป็นยาสมานท้อง

คุณค่าทางโภชนาการของโมกใหญ่

การแปรรูปของโมกใหญ่

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10331&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment