โรคกล้วย สาเหตุของโรค การแพร่ระบาด อาการของโรค

โรคกล้วย สาเหตุของโรค การแพร่ระบาด อาการของโรค

        กล้วย เป็นผลไม้เครือ ผลไม้เขตร้อนที่ถือได้ว่ามีการปลูกและขยายพันธุ์ที่ง่าย และได้รับความนิยมในการนำมารับประทานทั้งสดและแปรรูป กล้วยมีความทนทานต่อทุกสภาพอาการแต่ก็ยังมีโรคต่างๆที่เมื่อเกิดขึ้นอาจส่งผลให้กล้วยหยุดการะเจริญเติบโตและตายลงในที่สุดทำให้เราต้องหาวิธีป้องกันและกำจัดโรคที่อาจเกิดขึ้นกับกล้วยของเราได้ วันนี้เกษตรตำบลจะพาไปรู้จักกับโรคกล้วยค่ะ ว่าโรคที่ระบาดในกล้วยที่สำคัญมีโรคอะไรบ้าง มีสาเหตุมาจากอะไร และมีอาการของโรคอย่างไร

โรคกล้วย สาเหตุของโรค การแพร่ระบาด อาการของโรค

โรคกล้วยมีอะไรบ้างไปดูกัน

  1. โรคตายพราย (Panama disease)

สาเหตุของโรค โรคตายพรายเกิดขึ้นจากเชื้อราที่มีชื่อว่า Fusarium oxysporum f.sp. Cubense
การแพร่ระบาด โรคตายพรายส่วนใหญ่การแพร่ระบาดของโรคชนิดนี้จะเกิดกับกล้วยที่อลูกในพื้นที่ดินเหนียวที่ระบายน้ำได้กับกล้วยที่ปลูกในดินเหนียวการระบายน้ำไม่ดี ทำให้เกิดเชื้อราสะสม สามารถที่จะแพร่กระจายไปหน่อหรือเหง้าอื่นๆที่นำไปปลูกได้
อาการของโรค โรคตายพราย (Panama disease หรือ Fusarium wilt)  Fusarium oxysporum f.sp. Cubense เชื้อราจะเข้าทำลายราก แล้วเจริญเข้าไปอยู่ในท่อน้ำท่ออาหารของเหง้าและโคนลำต้นเข้าทำลายราก และมีการเจริญเข้าไปในท่อน้ำ ทำให้เกิดอุดตัน ต่อมาปลายใบหรือขอบใบจะเริ่มมีสีเหลือง หยุดการเจริญเติบโตและตายในที่สุด ส่วนใหญ่มักจจะพบในกล้วยที่มีอายุระหว่าง 4-5 เดือน ขึ้นไป ส่วนกล้วยที่ติดเครือเจะเหี่ยว ผลลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ หรือแก่ก่อนกำหนด

2. โรคใบจุดกระ (Freckle spot)

สาเหตุของโรค โรคใบจุดกระเกิดจากเชื้อรา Phyllosticta musarum
การแพร่ระบาด โรคใบจุดจะสามารถแพร่ระบาดได้โดยลมที่จะพัดปลิวนำสปอร์ใบติดกับเนื้อเยื่อที่เป็นโรคสปอร์จะปลิวไปกับลมหรือติดไปกับเนื้อเยื่อที่เป็นโรค
อาการของโรค โรคใบจุดกระ เมื่อกล้วยเป็นโรคนี้ใบจะมีลักษณะที่เป็นจุดกระ โดยเริ่มแรกจะเป็นจุดสีแดง เมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะที่ 2 จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลไหม้จนเกือบดำ เมื่อจุดขายตัวขึ้นจะมีลักษณะที่ไม่แน่นอนแผลจะเกิดไปตามยาวของเส้นใบ และโดยรอบแผลดังกล่าวจะมีผืนสีเหลืองเกิดขึ้นอยู่โดยรอบขอบแผล แผลอาจเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ หรือเชื่อมติดต่อกันเป็นทางยาวขนานไปกับเส้นใบ

3. โรคใบจุดสีน้ำตาลเทา (Greyish brown spot)

สาเหตุของโรค โรคใบจุดสีน้ำตาลเทาเกิดจากเชื้อรา Cordana musae
การแพร่ระบาด โรคใบจุดสีน้ำตาลเทาสปอร์จะปลิวไปกับลมหรือน้ำฝนพัดพาแพร่ระบาดไป
อาการของโรค โรคใบจุดสีน้ำตาลเทาโดยทั่วไปแผลจะเกิดเป็นจุดสีน้ำตาลบนผิวใบ แล้วแผลจะขยายใหญ่สีน้ำตาลอ่อนพื้นตรงกลางแผลแห้ง สีน้ำตาลปนเทา ขอบริมแผลสีน้ำตาลเข้มเด่นชัดและมีขอบสีเหลืองเกิดล้อมรอบอยู่อีกชั้นหนึ่ง การขยายขนาดของแผลจะขยายตามความยาวของเส้นใบมีขนาดประมาณ 0.4-1 X 2-8.5 ซม. แผลอาจเชื่อมติดต่อกันเป็นทางยาว หรือเกิดอยู่เป็นกลุ่ม ซึ่งทำให้เห็นลักษณะอาการของโรคได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่แผลมักจะเกิดตามบริเวณริมใบ ทำให้ผืนใบส่วนนั้นแห้งเป็นบริเวณกว้างรอบใบ บนพื้นแผลที่แห้งจะมีสปอร์ของเชื้อราสาเหตุเกิดเจริญอยู่ทั่วไป โรคนี้มักจะเป็นมากกับใบที่ยังเจริญไม่เต็มที่ตามขอบใบและปลายใบแล้ว จึงจะขยายการทำลายเข้าสู่ผืนใบ

4. โรคซิกาโทกาสีเหลือง (Yellow sigatoka disease)

สาเหตุของโรค โรคซิกาโทกาสีเหลืองเกิดจากเชื้อรา Cercospora musae
การแพร่ระบาด โรคซิกาโทกาสีเหลืองสามารถที่จะแพร่กระจายได้คล้ายกับโรคใบจุดกระโดยสปอร์จะปลิวไปกับลมหรือติดไปกับใบที่เป็นโรค
อาการของโรค โรคซิกาโทกาสีเหลืองอาการครั้งแรกใบจะเกิดจุดเล็ก ๆ สีเหลืองขึ้นมา และเริ่มขายใหญ่ขึ้นต่อมาจนเป็นขีดสีเหลืองขนานไปตามเส้นของใบ เมื่อผ่านไปขนาดของแผลใหญ่และมีรูปร่างเหมือนรูปไข่ ตรงกลางจะแห้งเป็นสีน้ำตาลปนเทา ต่อมาแผลจะเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลไหม้ และมีขอบรอบนอกของแผลเป็น สีเหลืองสด โรคซิกาโทกาสีเหลืองจะเข้าทำลายใบที่ยังไม่แก่ ิเมื่อใบเกิดโรคนี้มากขึ้นก็จะให้ให้กล้วยเจริญเติบโตช้า ไม่ออกผล หรือถ้าออกผล ผลก็จะไม่สมบูรณ์ ทำให้ไม่สามารถขายออกสู่ตลาดได้

5.  โรคใบด่าง (Cucumber mosaic)

สาเหตุของโรค  โรคใบด่าง เกิดจากเชื้อวิสา Virus (CMV)
การแพร่ระบาด โรคใบด่างมีเพลี้ยอ่อน Aphis gossypii เป็นพาหะที่สำคัญนำเชื้อโรคไปแพร่ระบาดอีกด้วย
อาการของโรค โรคใบด่าง จะมีรอยด่างเกิดขึ้นที่ใบ ลักษณะเป็นขีดสีเหลือง มีขนาดไม่แน่นอน ใบที่ยังเจริญไม่เต็มที่จะเห็นอาการได้ชัดเจน  ใบแก่จะมีอาการมากบนเส้นกลางใบหรือก้านกลางใบ แล้วจะขยายไปสู่ผืนใบและขอบใบ เมื่อโรคเริ่มลามเต็มใบจะทำให้ต้นกล้วยชะงักการเจริญเติบโต ถ้าเกิดเป็นกับต้นกล้วยที่มีอายุน้อยก็จะเกิดเน่าแห้งเป็นแท่ง ๆ ภายในลำต้น

ภาพประกอบ : www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment